บทความนี้จากหนังสือข่าว ส.ส.ท. โดย พรเทพ ทวีกาญจน์
เอามาลงเพื่อเป็นความรู้สำหรับคนเล่นอินเตอร์เน็ต
มาดูว่าการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต คืออะไร ก่อนที่จะพิจารณาถึงเรื่องนี้ควรจะพิจารณาก่อนว่า หมิ่นประมาทนั้น มีลักษณะการกระทำอย่างไร หมิ่นประมาทคือ การใส่ความผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ เช่น พูด เขียน พิมพ์ข้อความ หรือแสดงกริยาต่างๆ โดยการใส่ความดังกล่าวนั้น ต้องเป็นการกระทำให้บุคคลที่สามรับทราบ ซึ่งเป็นการกระทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้น ได้รับความเสียหาย
ดังนั้น ผู้กระทำการหมิ่นประมาท จะมีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา กล่าวคือ การหมิ่นประมาทนั้น ผู้กระทำผิดจะมีความหมายทางแพ่ง ฐานละเมิดตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ ผู้กระทำได้กล่าว หรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความที่ขัดต่อความเป็นจริง เป็นผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ
นอกจากนี้การหมิ่นประมาท ยังถูกบัญญัติให้เป็นความผิดหนึ่ง ในประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งลักษณะการกระทำคือ ผู้กระทำความผิดได้ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง การพิจารณาข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทในทางอาญานั้น อาจเป็นความจริง หรือเท็จก็ได้ดังที่เคยมีคำกล่าวว่า "ยิ่งจริงยิ่งผิด" เพราะกฏหมาย มุ่งพิจารณาแต่เพียงว่าถ้ามีการกล่าวถึงบุคคลอื่น ในด้านที่ไม่ดีแล้ว ย่อมจะทำให้สังคมไม่สงบสุข ไม่ว่าข้อความนั้นจะเป็นจริงหรือไม่
ความรับผิดทางอาญา และทางแพ่งมีข้อแตกต่าง ประการสำคัญทีสุด คือ หากข้อความที่กล่าวเป็นเรื่องเท็จ ผู้กระทำจะมีความผิดทางอาญา และต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง แต่ถ้าข้อความที่กล่าวเป็นจริง ผู้กระทำจะมีความผิดทางอาญา แต่ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง
กรณีความผิดทางอาญา ในการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต จะมีความผิดตามมาตรา 326 ที่บัญญัติว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่น หรือ ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ"
หากนำข้อความ หรือภาพที่มีลักษณะหมิ่นประมาท ไปลงไว้ในเว็บไซต์ คนทั่วไปย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ อันเป็นลักษณะของการโฆษณาด้วยภาพ หรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎด้วยวิธีใด อย่างหนึ่ง ซึ่งในมาตรา 329 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนต์ ภาพ หรือ ตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท" ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษหนักกว่ามาตรา 326 เพราะการโฆษณาเป็นการทำให้ข้อความหรือภาพที่มีลักษระหมิ่นประมาทกระจายไปสู่ คนจำนวนมากกว่าการหมิ่นประมาททั่วๆ ไป
ความผิดสำเร็จในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ตนั้น จะถือว่าความผิดสำเร็จเมื่อใด เมื่อพิจารณาถ้อยคำที่ว่า "โดยประการที่ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่น หรือถูกเกลียดชัง" ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้นไม่ใช่ผลของการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ที่ต้องถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แต่จะพิจารณาว่าผิดสำเร็จ หรือไม่จากวิญญูชนทั่วไป (บุคคลทั่วไป) ว่าเมื่อได้รับทราบข้อความนั้นแล้ว เห็นว่าน่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าน่าจะเสียหาย ผู้กระทำก็จะมีความผิดแล้ว แต่ถ้าบุคคลทั่วไปเห็นว่าไม่น่าจะเสียหายแต่ผู้อื่น ผู้กระทำก็ไม่มีความผิด และต้องได้ข้อเท็จจริงว่า บุคคลที่สามรับทราบข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าเป็นความผิดสำเร็จ
ถ้าบุคคลที่สามยังไม่ได้รับทราบข้อความนั้นเลย ก็เป็นแต่เพียงขั้นพยายามหมิ่นประมาทเท่านั้น คือ ผู้กระทำได้กระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เช่น นายเอก ส่งอีเมลล์ให้นายโท โดยมีข้อความหมิ่นประมาทนายตรี ถ้านายโทยังไม่เปิ[คำไม่พึงประสงค์]่าน ถือว่านายเอกได้กระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล คือ นายโท ยังไม่ได้รับทราบข้อความนั้น จีงมีความผิดเพียงขั้นพยายามหมิ่นประมาทรับโทษเพียงสองในสาม แต่ถ้านายโทเปิ[คำไม่พึงประสงค์]่านอีเมล์ฉบับดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่ามีบุคคลที่สามรับทราบข้อความแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จโทษเต็มตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในกรณีเมื่อได้รับอีเมลล์ที่มีข้อความหมิ่นประมาท และได้ forward ต่อไปให้ผู้อื่น จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ประเด็นนี้เกิดขึ้นได้บ่อยมากในปัจจุบัน เพราะสามารถทำการส่งข้อความหรือภาพ ที่เราได้รับมาไปให้เพือนหรือ คนรู้จักกันได้อีกไม่จำกัดจำนวน ประเด็นนี้สามารถเทียบเคียงได้กับคำพิพากษาศาลฎีกาที 2822/2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงคือ จำเลยแสดงข้อความในจดหมายที่ได้รับจากผู้อื่น โดยรู้อยู่ว่าจดหมายนั่นมีข้อความหมิ่นประมาท ถือได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
เหตุที่มองว่าการ Forward-mail ไปให้ผู้อื่นถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะผู้กระทำนั้นเมื่อได้รับทราบข้อความ แล้วได้ทำการเผยแพร่ต่อไป เท่ากับเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการขยายความเสียหายออกไป อีกจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นเอง แล้วถ้าหาก Forward-mail ต่อไปให้บุคคลอื่นอีกหลายคน จะถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาที่ต้องรับโทษหนักขึ้น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 นั้น จะต้องพิจารณาจากการกระทำเป็นหลัก ว่าเป็นการโฆษณาหรือไม่ โดยไม่คำนึงถึงจำนวนบุคคลผู้รับข้อความ ว่าจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด
**เพิ่มเติมอีกนิดนะจ๊ะ
กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที
การCopyรูป ภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของเสียก่อน แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับกรณีเพื่อการศึกษา โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
การหมิ่นประมาททาง อินเตอร์เน็ตสามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่ สามารถฟ้องร้องได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง โดยอาญานั้นยิ่งจริงยิ่งผิด ไม่สามารถยอมความได้นะจ๊ะ 1 คำหมิ่นประมาท คิดเป็นหนึ่งบทลงโทษ 100 คำหมิ่นประมาท(ต่อคน) ก็บวก ลบ คูณ หารกันเอาเองนะ คนตั้งกระทู้โทษหนักพักพวกก็โดนนะจ๊ะ
การทำHyperlink ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธินั้น ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน
โหลด โปรแกรมหรือเพลงทางอินเตอร์เน็ต ถ้าใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเป็นโปรแกรมประเภท Freeware,Shareware ส่วนการโหลดเพลงขึ้นบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปโหลดได้ฟรีๆเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ถือเป็นคดีอาญา
เอิ๊กๆ มีหลายกรณีแล้วนะค่ะที่ฟ้องร้องกันมา ระวังน๊าโพสพาดพิงถึงคนขี้โมโห
และเอาเรื่อง จะถูกฟ้องไม่รู้ตัว ตรงนี้ไม่สามารถเอาลิงค์มาให้ดูได้ เพราะยังไม่ได้ขอเจ้าของ
แต่หาในgoogle คำว่าหมิ่นประมาททางอินเตอร์เนตได้จ๊ะ น่าจะมีตัวอย่างคนที่ถูกฟ้องร้องให้ดู
ถ้าเห็นว่ากระทู้นี้มีประโยชน์โหวดให้ด้วยจ๊ะ อ้อระวังนะเวลาตั้งกระทู้ถึงใครให้เอ่ยชื่อย่อ
แต่ถ้ามันทำให้เขาเสื่อมเสียต่อสาธารณชน และโฆษณามีผลให้เสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม
ก็อย่าไปทำเลยเพราะว่าเราคนไทยเหมือนกัน "รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย"
อีกอย่างนะจ๊ะแม้เอ่ยชื่อย่อ แต่เมื่อพูดไปแล้ว เขียนข้อความลงไป แล้วคนอื่นรู้ว่าเป็นบุคคลคนนั้น
ก็ โดนเหมือนกันนะ เดี๋ยวนี้แม้แต่เล่นอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ก็จับได้นะจ๊ะ เพราะกฎหมายเขาให้ร้านเก็บข้อมูลไว้ 90 วัน อย่าไปเชื่อใครว่าในเน็ตทำอะไรไม่ได้ล่ะ มีคนโดนมาแล้วปัจจุปันหนีหัวซุน บางคนก็ต้องสู้คดีเสียเวลา เสียเงิน ยิ่งโดนคดีอาญานี้แสบจริงๆ ยอมความไม่ได้เลยน๊า
แล้วบางทีถ้าเราตั้งกระทู้หมิ่นเหม่ แล้วถูกลบก็อย่าไปโกรธเว็บไซส์นะจ๊ะเพราะว่า
หากมีการฟ้องร้องทางคดีความ เวบไซต์ "อาจจะ" ต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย
(อ้างอิงจาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ www.dsi.go.th/dsi/gallery/yanaphon/comp_law_2007.pps)
***********************
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
เหตุผล ผู้ให้บริการในที่นี้มุ่งประสงค์ถึง เจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งมีการพิจารณาว่า
ควรต้องมีหน้าที่ลบเนื้อหาอันไม่เหมาะสมด้วย
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๑๔ โทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี โทษปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ที่มา http://www.dek-d.com
----------------------------------------------
กฎหมายไซเบอร์ – การหมิ่นประมาทบนเน็ต
21 สิงหาคม 2010
ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่ประสงค์ดีบางคนใช้สื่ออินเทอร์เน็ตทำความเสียหายแก่ผู้อื่น เป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว คือ ประมวลกฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 และ 328 ซึ่งระบุว่า
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎด้วยวิธีใด แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียงอย่างอื่น กระทำโดยการกระจายเสียง หรือโดยการกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่นใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากข้อความที่หมิ่นประมาทผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่เป็นความจริงและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้รับสาร ก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 แม้ว่าผู้หมิ่นประมาทนั้น ภูมิลำเนาไม่ได้อยู่ประเทศไทยก็ตาม เพราะการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายไทย ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย ไม่ได้รับยกเว้นโทษแต่ประการใด
ซึ่งในทางเทคนิคนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่า ผู้ที่เขียนข้อความหมิ่นประมาทดังกล่าวเป็นใคร โดยร่วมมือกับเว็บไซต์ที่ให้บริการจัดสนทนา โดยตรวจสอบหมายเลขที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ต (IP address) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้หมิ่นประมาทใช้ในการสนทนา หรือปิดประกาศข้อความที่หมิ่นประมาทบนอินเทอร์เน้ตนั้น ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีหมายเลขรหัสประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำ กัน
ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการมีความรับผิดทางกฎหมายหรือไม่ คำตอบคือ หากเว็บไซต์ ไม่ได้รับทราบหรือมีส่วนรู้เห็นถึงการกระทำอันเป็นการหมิ่นประมาทดังกล่าว ข้างต้น เว็บไซต์นั้นๆ ก็ไม่ต้องรับผิดในความผิดฐานหมิ่นประมาทเนื่องจากขาดเจตนา แต่หากผู้ได้รับความเสียหาย ได้แจ้งให้เว็บไซต์ ทราบแล้วว่า ข้อความที่อยู่บนเว็บไซต์ ดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง และเว็บไซต์นั้นยังคงเผยแพร่อยู่ และมิได้ลบออกจากเว็บไซต์ กรณีนี้อาจถือได้ว่า เว็บไซต์นั้นๆ มีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ได้รับความเสียหายได้
ดังนั้น หากมีการแจ้งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ์ดังกล่าวเข้ามา ท่านผู้ประกอบการเว็บไซต์ควรรีบตรวจสอบ และลบข้อความดังกล่าวออก โดยเร็วเพื่อแก้ไขปัญหาดีกว่าจะมีคดีความกันในภายหลัง
ส่วนวิธี ป้องกันนั้น เว็บไซต์โดยทั้วไปจะระบุเงื่อนไขในการใช้บริการ (Term & Condition) ว่าจะปฏิเสธความรับผิดในกรณีที่มีการหมิ่นประมาทผู้อื่นทางอินเทอร์เน็ต หรืออาจใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ pop-up ให้แสดงข้อความเงื่อนไขสิทธิบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งอย่างน้อยก็พิสูจน์ได้ว่า ผู้ใช้บริการแต่ละท่านได้ทราบแล้วว่า เว็บไซต์ที่ให้บริการเป็นเพียงสื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อระหว่างกันเท่านั้น มิได้มีส่วนรู้เห็นถึงการกระทำความผิดใดๆ ที่เกิดขึ้น
สื่ออินเทอร์เน็ต เป็นเสรีภาพอย่างหนึ่ง ในการแสดงออกความคิดเห็น หรือสื่อสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ดังนั้น จึงควรร่วมกันใช้สื่อในทางสร้างสรรค์โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เพราะจริยธรรม หรือมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต (Nettiquette) ที่อยู่ในจิตใจของคนนั้น มีความสำคัญมากกว่าความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ
ผู้เขียน–ชวลิต อัตถศาสตร์ ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ พัชรินทร์ ฉัตรวชิระกุล อิทธินันท์ สุวรรณจูฑะ
ที่มา http://www.asamedia.org/2010/08/12265/
ภาพ : http://backoffice.tarad.com
VN:F [1.9.5_1105]
|