Home » อสังหาฯ บ้าน คอนโด ที่ดิน » ประเภทของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ประเภทของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

dailynews.co.th - กฎหมายรอบรั้ว วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555
 

  • การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้น ได้มาโดยการขอออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล และได้มาโดยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยทางนิติกรรม เช่น โดยการซื้อขายแลกเปลี่ยนให้จำนอง, ขายฝาก ต้องทำตามแบบของกฎหมาย (ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่) มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ
     
  • การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยผลของกฎหมาย เช่น ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากที่งอกริมตลิ่ง ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่งที่งอกนั้นเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น โดยหลักของที่งอกริมตลิ่งจะต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและติดต่อเป็นผืนเดียวกัน แต่เจ้าของที่ดินจะมีกรรมสิทธิ์ในที่งอกได้ต้องเป็นที่ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินแปลงใดเป็นที่มือเปล่า หากเกิดที่งอกออกมาเจ้าของที่แปลงนั้นก็จะมีแต่เพียงสิทธิครอบครองในที่งอกเท่านั้น ดังนั้นหากเป็นที่งอกออกมาจากที่ดินมีโฉนด เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวจะมีกรรมสิทธิ์ในที่งอก ผู้อื่นจะแย่งการครอบครองที่ดินส่วนนี้ จะต้องครอบครองปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีจึงได้กรรมสิทธิ์ หากเป็นที่งอกออกมาจากที่ดินมือเปล่า (สค.1,นส.3) เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง หากผู้อื่นแย่งการครอบครองและเจ้าของไม่ฟ้องร้องเรียกคืนภายใน 1 ปี เจ้าของสิ้นสิทธิในที่งอกนั้น
     
  • การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ตามกฎหมายกำหนดว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์” ที่ดินที่จะถูกครอบครองปรปักษ์ได้ จะต้องเป็นที่ดินของผู้อื่นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ (โฉนดที่ดิน, โฉนดแผนที่, โฉนดตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว) ที่บ้านที่สวนตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ (บทที่ 42) ที่ดินมือเปล่า (สค.1,นส.3) จะถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
     
  • การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์จะต้องให้ศาลมีคำสั่งว่า ได้มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้วนำคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินประเภทได้มาโดยการครอบครอง หากเจ้าของได้โดยการครอบครองบางส่วนก็ไปขอจดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วน หรือได้รับแบ่งมาโดยการครอบครอง
     
  • การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยทางมรดก การจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก ที่ดินมรดกนั้นต้องเป็นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน ถ้าที่ดินมรดกเป็นที่มือเปล่า เช่น ที่ นส.3, สค.1 ก็มีเพียงสิทธิครอบครอง และได้ทรัพย์มาโดยทางมรดกนี้จะต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเสียก่อนจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติว่า “ถ้าผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น นอกจากนิติกรรมสิทธิ์ ของผู้ได้มานั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้” การได้มาทางมรดก ก็เป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมนะครับ.


ดินสอพอง  ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/950/168437