Home » อสังหาฯ บ้าน คอนโด ที่ดิน » การขายอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ที่ดิน กับการเสียภาษี

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การขายอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ที่ดิน กับการเสียภาษี

การขายบ้านที่ไม่ต้องเสียภาษี

dailynews.co.th - กฎหมายรอบรั้ว วันเสาร์ที่  12 มกราคม 2556

       การขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นที่ดินเปล่า หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ผู้ขายที่ไม่มีอาชีพในการจัดสรรที่ดิน หรือบ้านพร้อมที่ดิน หรือสร้างอาคารเพื่อขาย ผู้ขายต้องเสียภาษีอากรประเภท    ต่าง ๆ ดังนี้ ครับ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้อสังหาริมทรัพย์นั้นมา โดยทางมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หา หรือซื้อ หรือสร้าง หรือทางอื่น ๆ
  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรืออากรแสตมป์ อย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวคือถ้าต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะก็ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ แต่ถ้าไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะก็จะต้องเสียภาษีอากรแสตมป์ โดยคำนวณจากราคาขายจริง หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎหมายที่ดิน (แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า) สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น โดยปกติให้เสียในอัตรา 3.3% ของราคาขายจริง หรือราคาประเมินฯ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
  3. ค่าธรรมเนียมในการโอน ในอัตรา 2% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎหมายที่ดิน (ในบางช่วงเวลารัฐบาลอาจมีการประกาศลด อัตราค่าธรรมเนียมในการโอนลง)

       อย่างไรก็ตามการขายอสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ขายไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ต้องเสียอากรแสตมป์

  1. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะการจัดสรร หรือสร้างอาคาร เพื่อขายภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งหากที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้ขายไปนั้น ได้มาไม่พร้อมกัน การนับกำหนดเวลา 5 ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดิน หรืออาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง
  2. การขายเนื่องจากถูกเวนคืน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
  3. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
  4. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นสำคัญ โดยผู้ขายมีชื่อปรากฏอยู่ใน ทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น
  5. การโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมาย (แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม)
  6. การโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ทางมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม (ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม)
  7. การโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐบาลโดยไม่มีค่าตอบแทน
  8. การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครอง ในอสังหาริมทรัพย์ กับส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐบาล เฉพาะในส่วนที่ราชการ หรือองค์การของรัฐบาลนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่น นอก จากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น.

ดินสอพอง  ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/950/177526