Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
การวางแผนภาษี กิจการค้าขายอสังหาริมทรัพย์ |
การวางแผนภาษีไม่ใช่การหลีกเลี่ยงภาษีหรือการโกงภาษีและไม่ใช่การละทิ้งหน้าที่ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศ แต่เป็นการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษี ในแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อเป็นการประหยัดภาษี
แน่นอนว่าการที่จะสามารถวางแผนภาษีได้ดี และถูกต้องนั้น ผู้วางแผนนั้น นอกจากจะต้องมีความรอบรู้ รอบคอบ และรัดกุมแล้ว ต้องมีประสบการณ์ในเชิงธุรกิจเกี่ยวกับกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย จึงสามารถวางแผนได้ดีและถูกต้อง
มีคนถามเสมอว่า การทำสัญญาชื้อขายที่ดินในราต่ำกว่าราคาที่ชื้อขายจริง ได้รับการประหยัดภาษีจริงหรือ!!!
ความจริงแล้วตามกฎหมายภาษี นับตั้งแต่ 16 กันยายน 2534 เป็นต้นมาได้แก้ไขให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นบุคคลธรรมดาเสียภาษีเงินได้ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน โดยไม่คำนึงว่าตามสัญญาชื้อขายจะสูงหรือต่ำเพียงใดก็ตาม
แม้ว่ากฎหมายจะแก้ไขแล้ว แต่คนธรรมดาส่วนใหญ่ก็ยังคิดว่าการเสียภาษีนั้นต้องเสียจากยอดที่สูงกว่าระหว่างราคาที่ชื้อขาย กับราคาประเมินของกรมที่ดิน ปัจจุบันจึงมีผู้ชื้อขายที่ดินที่จะทำสัญญาชื้อขายที่ดินที่ต่ำกว่าราคาที่ชื้อขายจริง
ตัวอย่าง บริษัท คนรวย จำกัด ชื้อที่ดินจากชาวบ้านรวม 100 ไร่ ๆ ละ 2,000,000 บาท (ราคาประเมินไร่ละ 1,000,000 บาท) แต่ทำสัญญาชื้อขายกันไว้เพียงไร่ละ 500,000 บาท เพื่อประหยัดภาษีและค่าธรรมเนียมทั้งปวง ที่ต้องออกแทนผู้ขายก็คือชาวบ้าน
จากตัวอย่าง เห็นได้ว่า บริษัทคนรวย สามารถประหยัดภาษีธุรกิจเฉพาะลงได้ 1,000,000 บาท/ไร่ X 0.11 % = 1,100 บาท/ไร่ (ปัจจุบันภาษีธุรกิจเฉพาะ ลดเหลือ 0.11%) ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าธรรมเนียมโอนนั้น จะคำนวณจากราคาประเมินคือไร่ละ 1,000,000 บาท บริษัท คนรวย จึงไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการทำสัญญาชื้อขายต่ำกว่าความจริง
นอกจากนี้การลงบัญชีรายจ่ายของ บริษัท คนรวย จำกัด สามารถลงบัญชีชื้อได้เพียงยอดตามที่ปรากฏในสัญญาชื้อขายคือ 500,000 บาท/ไร่ เท่านั้น ทั้งๆที่จ่ายเงินชื้อจริงถึง 2,000,000 บาท/ไร่ บริษัท คนรวย จำกัด จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากส่วนต่างของเงินค่าที่ดินที่จ่ายจริงกับราคาชื้อขายก็คือ 1,500,000 บาท ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว บริษัทคนรวย จำกัด จะต้องเสียภาษี 1,500,000 บาท/ไร่ X 30 % = 450,000 บาท/ไร่ (อัตราภาษีนิติบุคคล 30% จากกำไรสุทธิ )
เห็นแล้วนะครับว่า แม้จะประหยัดภาษีธุรกิจเฉพาะแต่ก็เป็นยอดภาษีจำนวนเล็กน้อย เมื่อเทียบกับภาษีนิติบุคคลที่ต้องเสีย
การวางแผนภาษีเช่นนี้จึงถือว่าเป็นการวางแผนภาษีที่ไม่มีความรอบรู้ รอบคอบ รัดกุม และไม่มีประสบการณ์ในเชิงธุรกิจเกี่ยวกับกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์
|