Home » อสังหาฯ บ้าน คอนโด ที่ดิน » การซื้อห้องชุด (คอนโด) ของคนต่างชาติ

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การซื้อห้องชุด (คอนโด) ของคนต่างชาติ

เกร็ดกฎหมาย
การซื้อห้องชุด (คอนโด) ของคนต่างด้าว

             คนต่างด้าว ตาม กฎหมายว่าด้วยสัญญา หมายถึง บุคคลที่มิได้มีสัญชาติไทย มีได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับนิติบุคคลต่างด้าว หมายถึงนิติบุคคลที่มีคนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละ 49 หรือนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวนของผู้ถือหุ้นซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย

             คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลต่างด้าว จะเป็นผู้มีสิทธิซื้อห้องชุดในอาคารชุดและถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของห้องชุดได้ จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

           1. เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ จากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

           2. เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้เข้ามาในประเทศไทย เพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุนหรือกระทำการอื่นใดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุน

           3. นิติบุคคลที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว ซึ่งมีทุนของคนต่างด้าวเกินกว่าร้อยละ 49 มีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด

           4 .นิติบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการลงทุน นอกจากนี้ให้รวมถึงนิติบุคคลที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน และเป็นนิติบุคคลที่มีทุนตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นเป็นคนต่างด้าว หรือเป็นนิติบุคคลที่มีคนต่างด้าวถือหุ้น เป็นหุ้นส่วนเป็นสมาชิกตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าคนต่างด้าวนั้นจะลงทุนเท่าใดหรือเป็นนิติบุคคลที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นคนต่างด้าว

            5. คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว ซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศหรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศปัญหามีว่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดตามสัญญาให้แก่คนต่างด้าวนั้น

            กฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้อย่างไรบ้าง ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้ดังต่อไปนี้

             1. ผู้ขายในฐานะผู้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด มีหน้าที่ต้องแจ้งรายชื่อคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว พร้อมแจ้งอัตราส่วนเนื้อที่ของห้องชุดที่คนต่างด้าวได้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว ว่ามีทั้งหมดเท่าไร

            2. ผู้ซื้อในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด นอกจากจะต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย และหลักฐานการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศในจำนวนไม่น้อยกว่าค่าห้องชุดที่จะซื้อตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดแล้ว ผู้ซื้อคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว จะต้องแสดงหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วย คือ

                  - หลักฐานการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือ
                  - หลักฐานการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน


           3. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารและหลักฐาน และตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นเอกสารและหลักฐานที่ถูกต้องตามที่กฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกำหนด และอัตราส่วนการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว ทั้งผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้วและผู้ที่ขอรับโอนไม่เกินอัตราร้อยละ 49 ของเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุดให้แก่คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลผู้ขอรับโอนนั้น

ที่มา : นิตยสารโฮมบายเออร์ไกด์ คอลัมน์ ซื้อบ้านอย่างรอบคอบ โดย..วรรณดา