Home » อสังหาฯ บ้าน คอนโด ที่ดิน » การเปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียของการซื้อบ้านกับเช่าบ้าน

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การเปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียของการซื้อบ้านกับเช่าบ้าน

           ในแง่ของการวางแผนทางการเงินแล้ว การซื้อบ้านถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง เพราะสามารถให้เช่าหรืออาจขายต่อในอนาคตได้ แถมราคาของที่อยู่อาศัยยังเพิ่มขึ้นตลอดเวลาและมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารด้วยซ้ำ สามารถซื้อไว้เก็งกำไรได้ ผิดจากสินทรัพย์อื่นๆ อย่างรถหรือเครื่องจักร ที่ยิ่งกว่าราคายิ่งตก ส่วนใครจะเหมาะกับอยู่อาศัยแบบใดนั้น จำเป็นต้องถามตัวเองให้ดีๆ และศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียให้ถ่องแท้ก่อนตัดสินใจ

            ข้อดีของการซื้อบ้าน คือ มีต้นทุนในการอยู่อาศัยคงที่ ในขณะที่การเช่าบ้านต้องจ่ายค่าเช่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นผู้ที่กู้เงินเพื่อซื้อบ้านยังได้รับการลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยจ่ายค่าผ่อนบ้านอีกด้วย ในขณะที่คนเช่าบ้านจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ

           ข้อเสียของการซื้อบ้าน คือ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น เริ่มตั้งแต่เงินดาวน์ก้อนใหญ่และภาระผ่อนชำระบวกดอกเบี้ยที่อาจจะกินเวลา 20-30 ปีขึ้นไป ภาระในการดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายในบ้านอีกจิปาถะ หากบริหารเงินไม่ดี ขาดส่งธนาคารนานๆ อาจถูกยึดบ้านเพื่อบังคับจำนองได้ ซึ่งถ้าค้างชำระจำนวนหลายงวดติดต่อกัน ดอกเบี้ยบวกเงินต้นก็อาจจะสูงกว่ามูลค่าตลาดของบ้านหลังนั้นได้ ซึ่งพอถึงตอนนั้นผู้กู้อาจจะถูกไล่เบี้ยในทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อมาขายทอดตลาดชำระหนี้เพิ่มเติมอีกก็ได้

           เมื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ระหว่างการซื้อกับการเช่าดูแล้ว คงต้องตัดสินใจแล้วว่า จะเลือกแบบใดดี โดยปัจจัยที่ควรนำมาประกอบการพิจารณาคือ เรื่องของราคาบ้านและอัตราดอกเบี้ยในการกู้เงิน สิทธิประโยชน์ทางภาษีของการซื้อบ้าน ระยะเวลาที่คาดว่าจะอาศัยในบ้านหลังนั้น รวมถึงความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงราคาบ้านในช่วงเวลานั้นว่าจะเพิ่มขึ้นหรือต่ำลง เช่น ถ้าคาดว่าบ้านจะราคาต่ำลงในอนาคต คุณอาจจะเลื่อนการตัดสินใจซื้อบ้านออกไปจนถึงเวลาที่ได้ผลประโยชน์คุ้มค่า

            ปัจจัยอื่นๆ ยังมีเรื่องของการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของการเช่าบ้านหรือซื้อบ้าน โดยค่าใช้จ่ายจากการเช่าบ้านจะได้แก่ ค่าเช่าในแต่ละเดือน ค่าเบี้ยประกันภัยในแต่ละเดือนที่ผู้เช่าจะต้องจ่ายให้กับผู้ให้เช่า ส่วนค่าใช้จ่ายจากการซื้อบ้านจะประกอบไปด้วย ค่างวดผ่อนส่งในแต่ละเดือน ค่าเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายตามสัญญาเงินกู้กับผู้ให้กู้ ค่าดูแลรักษาทรัพย์สินต่างๆ และควรจะต้องรวมถึงค่าเสียโอกาสในการหาผลประโยชน์ของเงินที่ต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการซื้อบ้าน เช่น  เงินดาวน์ ค่าธรรมเนียมสินเชื่อต่างๆ ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ภาษี ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ควรถูกหักออกด้วย เมื่อคิดส่วนหักลบแล้ว ต้องคิดในส่วนเพิ่มด้วย นั่นคือส่วนเพิ่มของราคาประเมินบ้านหลังนั้นที่จะเพิ่มในแต่ละปี (ทำโดยเปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของราคาประเมินของบ้านที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และประเภทเดียวกันในแต่ละปี) หลังจากทำการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรายปีของทั้งสองทางเลือกแล้วทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าก็จะให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับ เจ้าของมากกว่า

ที่มา : หนังสือรู้รอบด้านแผนการเงิน หน้า 43 ผู้แต่ง ฝ่ายพัฒนาองค์กรและธุรกิจ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่างการเช่าบ้านและซื้อบ้าน

  

การเช่าบ้าน (Renting)

มี ความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างสะดวกสบาย เพราะสถานที่ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในทำเลกลางเมือง สะดวกต่อการคมนาคม และ complex เช่น สโมสร สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส  และมีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดให้ มีอิสระที่จะเลือกอยู่อย่างไรก็ได้ ตกแต่งหรือ ดัดแปลง อย่างไรก็ได้ ตามรสนิยมที่เราพอใจ
บ้านเช่าหรือห้อง เช่าส่วนมาก จะอยู่ติดกันหรือใกล้กัน ทำให้สังคมกว้างขึ้น  เพราะได้รู้จักคนมากขึ้นและมีโอกาสแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ความคิดเห็นกัน

การซื้อบ้าน (Buying)

มีบริเวณกว้างขวางที่จะให้ครอบครัวเด็กเล็กได้วิ่งเล่น
ผู้เช่าอาจไม่สะดวกในความเป็นอยู่มากนัก เพราะมีข้อห้ามข้อจำกัดต่าง ๆ จากผู้ให้เช่า เช่นการห้ามเลี้ยงสัตว์ ไม่รับเด็กเล็ก หรือห้ามแก้ไขปรับ ปรุง เป็นต้น
ความเป็นส่วนตัวและความภูมิใจ (Privacy and pride)
ผู้เช่ามักขาดความเป็นอิสระส่วนตัว เนื่องจากผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะเข้ามา ตรวจสอบดูแลห้องพักหรือบ้านเช่าได้เสมอ
มี อิสระและความเป็นส่วนตัวได้อย่างเต็มที่เพราะเป็นเหมือนบ้านของเราเอง เรา เป็นผู้ครอบครองเสมือนหนึ่งเป็น King of the castle  และจะไม่มีใครมาจุกจิกกับเราอีก (โดยเฉพาะผู้ให้เช่า) 
เกิดความภูมิใจในชีวิตนี้เรามีโอกาสได้เป็นเจ้าของบ้านกับเขาเหมือนกัน

การลงทุนซ่อมแซมและบำรุงรักษา (Investment and maintenance)

การเช่าบ้าน (Renting)

การซื้อบ้าน (Buying)

  • ไม่ต้องหาเงินจำนวนมากมาเพื่อจะดาวน์บ้าน หรือซ่อมแซม ตกแต่งบ้าน
  • เพียงแต่มีเงินจำนวนหนึ่ง ที่จะจ่ายค่าเช่าบ้านเท่านั้นพอ 
  • ค่าซ่อมแซมตกแต่ง ต่าง ๆ เป็นความรับผิดชอบ ของเจ้าของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น 
  • การเช่าจึงมีความเหมาะสมมาก ต่อคนหนุ่มสาวที่ยัง มีรายได้ไม่มากนัก 
  • และยังไม่แน่ใจว่าจะตั้งถิ่นฐานอยู่ใดแน่

 

 

 

  • การ มีบ้านถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ผลคุ้มค่าอย่างมากในอนาคต เพราะราคาบ้านและที่จะสูงขึ้นตลอดเวลา บ้านถือเป็นสินทรัพย์ทุนอย่าง หนึ่งที่เราสร้างได้ (Build  up equity)
  • เมื่อ จะมีบ้าน ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นเรา ต้องรับภาระหมด โดยจะต้องตั้งงบประมาณเต็มที่ เงินดาวน์บ้าน ค่าผ่อนบ้าน ค่าตกแต่ง ซ่อมแซม ค่าประกัน ค่าดูแลรักษา  และอื่น ๆ จิปาถะ
  • เมื่อซื้อบ้านแล้ว ถ้าเดือดร้อนต้องการเงิน จะขายบ้างครั้งจังหวะไม่ดี ก็ขายออกยากเหมือนกัน
  • การจ่ายดอกเบี้ยในการผ่อนบ้านสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ในขณะที่ค่าเช่าบ้านไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

การโยกย้าย (Mobility)

การเช่าบ้าน (Renting)

การซื้อบ้าน (Buying)

 สัญญาเช่าส่วนมากเป็นสัญญาเช่าปีต่อปีผู้เช่า

 จะโยกย้ายไปอยู่ไหนก็จะง่าย  เพราะไม่มีพันธะผูกพันอะไร 

 ไม่ต้องวิตกในเรื่องการจัดการขายทรัพย์สินเหมือนการซื้อบ้าน

 

 

 บ้านที่ได้ซื้อแล้วถ้าจำเป็นต้องโยกย้ายไปอยู่ที่อื่น

 และต้องการขายบ้าน การขายอาจทำได้ไม่ง่ายนัก

 ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี อาจขายไม่ได้ตามราคาที่ต้องการ

 ทั้งยังต้องเสีย ค่านายหน้าในการขายอีกด้วย

 หรือมิฉะนั้นจะต้องถือไว้อย่างนั้นจนกว่า ราคาจะกระเตื้องขึ้น

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial risks)

การเช่าบ้าน (Renting)

การซื้อบ้าน (Buying)


  • ในการเช่าผู้เช่ามีความรับผิดชอบเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ทรัพย์สินของตนที่อยู่ในที่เช่าเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดชอบบ้าน หรือบริเวณภายนอก เพราะใน เรื่องการสร้างระบบป้องกันความปลอดภัยของบ้าน และทรัพย์สินภายนอกเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่า

 


  • เนื่อง จากบ้านที่เราลงทุนซื้อ เป็นทรัพย์สินที่มีค่า ที่ต้องรักษาไว้ ดังนั้น เจ้าของต้องลงทุนทุกอย่าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงต้องจ่ายค่าติดตั้ง ระบบความปลอดภัย และค่าประกันอัคคีภัยทุกอย่างเอง และถ้าบังเอิญ เกิดอัคคีภัยขึ้น เจ้าของต้องรับภาระความเสี่ยงเอง ในส่วนที่บริษัทประกันมิได้ชดใช้