Home » อสังหาฯ บ้าน คอนโด ที่ดิน » วิธีการเลือกซื้อบ้านจัดสรร และให้บริษัทรับสร้างบ้าน

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
วิธีการเลือกซื้อบ้านจัดสรร และให้บริษัทรับสร้างบ้าน

วิธีการเลือกซื้อบ้านจัดสรร

สิ่งที่ต้องคำนึง คือ 

  • ที่ตั้งโครงการมีความสัมพันธ์กับการขยายตัวของเมืองหรือไม่ มีถนน,ทางด่วน หรือระบบขนส่งมวลชน ไป ถึงหรือเปล่า
  • เจ้าของโครงการมีความน่าเชื่อถือและเคยทำโครงการหรือไม่ ซื่อสัตย์ต่อผู้ซื้อแค่ไหน
  • รูปแบบของตัวบ้าน และมาตรฐานของวัสดุที่ใช้สัมพันธ์กับราคาที่ขายหรือเปล่า
  • ระบบสาธารณูปโภคต่างๆเช่น ระบบระบายน้ำ ประปา ไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สโมสร สวนสาธารณะ,ทะเลสาบมีหรือไม่
  • สิ่งต่างๆ เหล่านี้สำคัญมาก ยิ่งถ้ามีบ้านตัวอย่างให้ดูยิ่งช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

 

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการซื้อบ้านจัดสรร

  • ประการแรกคือ ไม่ควรซื้อบ้านจัดสรรที่อยู่ใกล้ แหล่งชุมชนแออัด เพราะแหล่งชุมชนแออัดเป็นต้นเหตุให้ เกิดปัญหาเรื่องความไม่ปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องขโมยอย่าง เดียว อาจจะหมายถึงเรื่องอัคคีภัยด้วย
  • ประการที่สองคือ ไม่ควรซื้อบ้านจัดสรรติดกับแหล่ง กักเก็บวัตถุระเบิด หรือวัตุไวไฟ จริงๆ แล้วมีกฏหมายกำ- หนดไว้ว่าต้องไม่อยู่ใกล้บริเวณนี้ แต่ก็มีการฝ่าฝืนอยู่หลาย โครงการ
  • ประการสุดท้ายคือ ไม่ควรซื้อบ้านที่มีทางเข้าออก หลายทาง หรือทางผ่านสาธารณะ ซึ่งอาจสวนทางกับคำ โฆษณาที่บอกว่ามีทางเข้า-ออกหลายทางหรือติดถนนใหญ่ เนื่องจากการดูแลความปลอดภัยค่อนข้างยาก ถ้าเป็นทาง สาธารณะ ก็จะมีรถความเร็วสูงๆ ผ่าน ลูกหลานของเราอาจจะไม่ปลอดภัย

 

วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือจากเจ้าของโครงการและ จากสิ่งพิมพ์

สำหรับเจ้าของโครงการ
สิ่งที่ผู้ซื้อต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากก็คือ ความมั่นคงทางการเงินของเจ้าของโครงการว่ามั่นคงเพียงใดหรือ ไม่ มีผลงานทางด้านการจัดสรรที่ดินและบ้านมาก่อนหรือ เปล่า

หากผู้ประกอบกิจการได้เคยดำเนินการมาแล้ว ก็จะ ต้องพิจารณาดูว่าโครงการที่เขาดำเนินการมาแล้วนั้นมีสภาพ เป็นอย่างไร ทำตามโครงการหรือสัญญาครบถ้วนหรือไม่ มี การส่งมอบงานหรือโอนบ้านตามกำหนดหรือไม่ ถ้าขาดองค์ ประกอบ 2 ประการนี้ ก็ไม่ควรซื้อหรือถ้าจะซื้อก็ต้องระวัง ให้มากเป็นพิเศษ
สำหรับสิ่งพิมพ์ที่ใช้โฆษณา

สิ่งพิมพ์ แผ่นพับ หรือที่เรียกกันว่า โบว์ชัวร์นั้น ที่ ถูกต้องนั้นต้องระบุรายละเอียดไว้หลายอย่างด้วยกัน

ประการแรกคือ ชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ตำแหน่งที่ดิน เลขที่ โฉนด หรือเลขที่อนุญาตจัดสรร ประการต่อไปคือ ชื่อผู้ประ กอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้ประกอบการมิใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน สุดท้ายก็คือ ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว ชื่อกรรมการผู้จัด การ และภาระผูกพันเกี่ยวกับที่ดินและอาคารนั้นๆ ถ้ามีสิ่งที่ กล่าวมาข้างต้นครบถ้วน ก็พอจะแสดงได้ว่าโครงการนั้นมี ความน่าเชื่อถือ

วิธีการทำสัญญาซื้อบ้านจัดสรร

เรื่องการทำสัญญาซื้อบ้านจัดสรร ผู้ซื้อจะต้องไม่เกรง ใจผู้ขายในการตรวจสอบหนังสือสัญญา การทำสัญญาแต่ละ ครั้ง ผู้ซื้อจะต้องเข้าใจความหมายทุกตัวอักษรก่อนที่จะลงลาย มือชื่อของตน

ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็ต้องจัดหาผู้รู้มาให้คำแนะนำ หรือถ้าสงสัยในเรื่องใดก็ต้องสอบถามผู้ขายให้เป็นที่ตกลงกัน เสียก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นผู้เสียเปรียบในการทำสัญญาได้ เช่น แบบบ้านที่ทำสัญญาถูกต้องตามโฆษณาหรือไม่ เพราะมี ผู้ดำเนินการบางราย อาจทำแบบบ้านอย่างหนึ่ง แต่เวลาทำ สัญญาได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางประการซ่อนไว้ หากไม่ตรวจสอบก็จะไม่ทราบ

วิธีการป้องกันไม่ให้บ้านจัดสรรที่ท่านซื้อล่าช้า

วิธีการที่จะป้องกันได้ ดังนี้

1.ตรวจหลักฐานการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ก่อน ทำการจองว่าเจ้าของโครงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือ ยัง

2.ตรวจสอบใบอนุญาตจัดสรร หากผู้ประกอบการ ยังไม่ขออนุญาต หรือขอแล้วแต่ยังไม่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ ดิน ก็จะทำให้การก่อสร้างไม่อาจเกิดขึ้นได้

3.กำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง และวันที่ก่อสร้าง เสร็จไว้ในสัญญาซื้อขาย หากไม่เป็นไปตามสัญญา ให้คืน เงินในฐานะผู้ซื้อพร้อมดอกเบี้ย

  วิธีการรับโอนบ้านจัดสรร 

วิธีที่ 1 ตรวจสอบบ้านทั้งหลังว่ามีข้อบกพร่องหรือ ไม่ ถ้ามีก็ให้ทางผู้ขายซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนที่จะโอน
วิธีที่ 2 เพื่อพบกันครึ่งทาง ก็สามารถโอนได้ โดย ทำบันทึกข้อตกลงให้ซ่อมแซมทุกรายการทั้งหมด รวมถึง ระยะเวลาประกันความเสียหายอย่างน้อย 1 ปี เพื่อที่จะได้ มีเงื่อนไข สามารถบังคับให้ซ่อมแซมได้ในภายหลัง

วิธีการร้องเรียนเมื่อผู้ขายไม่โอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา

การร้องเรียนนั้นทำได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้ม ครองผู้บริโภค มีข้อแนะนำคือ ผู้ร้องเรียนต้องมีข้อมูลทั้ง ของผู้ร้องเรียนและเจ้าของโครงการ
ข้อมูลของผู้ซื้อต้องมีชื่อ ที่อยู่ ไว้ในหนังสือร้อง เรียนให้ชัดเจน
ส่วนข้อมูลของคู่กรณีถ้าเป็นบุคคลธรรมดาต้องระบุ ชื่อ นามสกุล และที่อยู่ให้ชัดเจน ถ้าเป็นนิติบุคคล ให้ระบุ ชื่อ ที่อยู่ ของห้างร้าน บริษัท พร้อมกับหลักฐานการชำระ เงินดาวน์ เงินค่างวด และรายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมดที่ มี เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ หน่วยงานที่รับร้องเรียน มีข้อมูลเพียงพอที่จะนำไปดำเนิน การ

- วิธีวางแผนการเงินเพื่อซื้อบ้านจัดสรร
โดยทั่วไปผู้ซื้อบ้านมักจะมีเงินเก็บออมส่วนหนึ่ง ซึ่ง มักจะไม่เพียงพอกับการซื้อบ้านด้วยเงินสด ดังนั้นเงินที่ขาด จึงต้องอาศัยกู้จากธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ แต่มัก จะกู้ได้ประมาณร้อยละ 70-80 ของราคาซื้อ-ขาย หรือมูลค่า ประเมิน ดังนั้นผู้ซื้อบ้านจะต้องมีเงินเก็บออมอย่างน้อยร้อย ละ 20-30 ของราคาบ้านจึงจะสามารถกู้เงินและซื้อบ้านได้ เงินที่เก็บออมนี้เองที่ผู้ซื้อต้องจ่ายเป็นเงิน "ดาวน์" ในการ ซื้อบ้าน หากบ้านยังคงสร้างไม่เสร็จ เจ้าของโครงการมักจะ ให้เราผ่อนเป็นงวดๆ ได้ในเวลา 5-18 เดือน

- การซื้อบ้านจัดสรรกับการปลูกบ้านเองต่างกันอย่างไร
การซื้อบ้านจัดสรรจะสะดวกกว่าการปลูกเอง การ เลือกแบบบ้านไม่ยุ่งยาก สามารถดูจากสำนักงานขาย หรือ บ้านตัวอย่างได้เลยว่าถูกใจหรือไม่ แต่มาตรฐานของวัสดุ ก่อสร้างจะสู้การปลูกเองไม่ได้ เพราะสร้างหลายๆ หลัง อาจ ผิดพลาดได้ และความต้องการต่างๆ อาจถูกจำกัดจากรูป แบบบ้านที่มีอยู่ สำหรับเจ้าของบ้านที่ไม่มีเวลาจะตัดปัญหา ในการหาสถาปนิกกับผู้รับเหมา แต่อาจจะได้บ้านที่ไม่ถูกใจ ทั้งหมด
โครงการบ้านจัดสรร ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอีก มากมาย เช่น สโมสร สะว่ายน้ำ สนามเทนนิส หรืออาจจะ มีสนามกอล์ฟด้วย รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัย


- การปลูกบ้านกับบริษัทรับสร้างบ้าน
ส่วนข้อดีคือ ประหยัดไม่ต้องเสียค่าออกแบบของ สถาปนิกและวิศวกร และไม่ต้องเสียเวลาในการทำแบบ

ลดปัญหาในการหาสถาปนิกและผู้รับเหมาที่ถูกใจ และได้คุณภาพตามที่ต้องการ รวมถึงการลดขั้นตอนในการ ประสานงานของทั้งสองฝ่ายด้วย
ถ้าได้บริษัทที่มีประสบการณ์และชื่อเสียงดี จะได้งาน ก่อสร้างที่มีคุณภาพและตรงต่อเวลา ไม่ทิ้งงาน ทำให้งบประ มาณไม่บานปลาย สามารถควบคุมงบประมาณได้
มีแบบให้เลือกมากมาย สามารถดูได้จากบ้านตัว อย่างที่สร้างมาแล้ว ทำให้ทราบถึงคุณภาพของงานก่อสร้าง หรืออย่างน้อยบางแบบก็ต้องมีหุ่นจำลอง เพื่อให้ดูและทำ ความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
และทางบริษัทยังช่วยดำเนินการขออนุญาตปลูก สร้างกับหน่วยงานราชการ พร้อมทั้งจัดขอระบบสาธารณูป โภค ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ให้ทั้งหมด
ส่วนข้อเสียก็คือ แม้ทางบริษัทจะมีแบบบ้านให้เลือก มากมายหลายแบบก็จริง แต่ประโยชน์ใช้สอยของบ้านแต่ละ หลังไม่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของแต่ละคนได้ อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งรูปแบบของบ้านก็ดูคล้ายๆ กันไม่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนกับสถาปนิกออกแบบให้


ที่มา  http://www.sveng.rmutk.ac.th/html/home/6_files/HouseBuyDeta.html