Home » อสังหาฯ บ้าน คอนโด ที่ดิน » "กรรมสิทธิ์ที่ดิน" ... กฏหมายรอบรั้ว

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
"กรรมสิทธิ์ที่ดิน" ... กฏหมายรอบรั้ว

  วันเสาร์ ที่ 18 ธันวาคม 2553

กฏหมายรอบรั้ว "กรรมสิทธิ์ที่ดิน"

ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองนั้น ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 เป็นเอกสารสิทธิที่แสดงการครอบครองและใช้ประโยชน์ในการทำกินเท่านั้น ที่ดินจำพวกนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าที่ดินมือเปล่า พูดง่าย ๆ ก็คือกรรมสิทธิ์ยังเป็นของรัฐอยู่นั่นเอง ได้แก่ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ เช่น หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส.3, นส.3ก), สค.1 (หนังสือแสดงสิทธิครอบครอง) หรือ สป.ก.4-01 เป็นต้น
    
ส่วนผู้ครอบครองจะขอกรรมสิทธิ์ได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนด ที่ดินเหล่านี้ผู้เป็นเจ้าของจะต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ คือจะต้องออกไปดูที่ดินของตนอย่างน้อยปีละครั้ง หรือหาคนอื่นเข้าไปดูแลแทนโดยการจัดทำสัญญาให้ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อป้อง กันปัญหาที่จะตามมาภายหลัง เพราะ ที่ดินเหล่านี้มีเพียงสิทธิครอบครอง หากมีคนอื่นเข้าไปทำกินในที่ดินโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ หรือเรียกว่าแย่งการครอบครอง ถ้าพิสูจน์ได้ว่าทำกินมาเกินหนึ่งปีที่ดินเหล่านั้นก็อาจตกเป็นของคนอื่นไปโดยผลของกฎหมายได้ ตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
    
ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์นั้นคือที่ดินที่ มีโฉนดที่ดิน เจ้าของจึงจะมีกรรมสิทธิ์ สิทธิต่าง ๆ ก็คล้าย ๆ กับเอกสารสิทธิข้างต้น เพียงแต่ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นจะมีความมั่นคงกว่าสิทธิครอบครองตรงที่ว่า คนอื่นจะมาแย่งที่ของเราไปก็ต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่าถึง 10 ปี ตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
    
ที่ดินที่มีโฉนดนั้นอาจเสียกรรม สิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ได้ตามหลักกฎหมาย เพราะกฎหมายต้องการ   ให้ถือเอาการครอบครอง และการทำประโยชน์ในที่ดินมากกว่าจะถือเอาเอกสารสิทธิ
    
แนวทางป้องกันคือ ถ้ามีผู้บุกรุกเข้ามาควรต้องแจ้งความจับดำเนินคดีอาญา (ภายใน 1 ปี กรณีเป็นที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง และ 10 ปี กรณีเป็นที่ดินที่มีโฉนด) ตามความแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362
    
“มาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
    
และหากการเข้ามาในที่ดินนั้นทำให้ทรัพย์เสียหายด้วย ก็แจ้งความเพิ่มในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 358 อีกข้อหาหนึ่ง
    
“มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
    
ที่ดินถือว่าเป็นทรัพย์ที่นับวันมี แต่มูลค่าจะสูงขึ้น อย่าปล่อยให้คนอื่นมาแย้งการครอบครอง หรือครอบครองปรปักษ์ เพื่อให้ได้ไปซึ่งสิทธิตามกฎหมายโดยง่ายนะครับ.


ดินสอพอง
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

ที่มา   http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=110472