Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
กฎหมายการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา(Escrow) |
โดย สุพรรณี อุดมพรสุขสันต์ ฝ่ายประสานและบริการSMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) - 4 ธันวาคม 2551 ปัจจุบัน การทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือการทำสัญญาต่างตอบแทนอื่นใดนั้น เรามักอาศัยความน่าเชื่อถือระหว่างคู่สัญญาเป็นหลักในการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น หรือมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของคู่สัญญา ซึ่งจะทำให้สัญญาระบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือการทำสัญญาต่างตอบแทนเกิดความเสี่ยงหรืออาจหยุดชะงักลง ส่งผลกระทบต่อคู่สัญญาและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คู่สัญญาและสร้างความมั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงมีคนกลางที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ เพื่อทำหน้าที่ดูแลการชำระหนี้ของคู่สสัญญาให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ จึงได้มีกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา อนึ่ง ถึงแม้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา และกำหนดให้คู่สัญญาสามารถเรียกเงินคืนได้ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาก็ตาม แต่ทางปฏิบัติแล้วก็ยังไม่สามารถป้องกันความเสียหายหรือประกันว่าผู้เสียหายได้รับเงินคืนครบถ้วนได้ ส่วนระบบเอสโครว์ (Escrow) เป็นระบบการค้ำประกันการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ของสัญญาต่างตอบแทนต่างๆ โดยการกำหนดให้มีคนกลางหรือ Escrow Agent ซึ่งมีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ ทำหน้าที่ดูแลการชำระหนี้ตามสัญญาให้ถูกต้องและสมบูรณ์ตามเจตนาของคู่สัญญา โดยคนกลางจะเป็นผู้ดำเนินการตามข้อตกลงของคู่สัญญา และถือเงินของคู่สัญญาฝ่ายที่จะต้องชำระเงินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งในเวลาที่ได้รับการปฏิบัติจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน ซึ่งระบบดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป เหตุผลการมีกฎหมายฉบับนี้คือเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือระหว่างคู่สัญญาในการชำระหนี้ต่อกันตามสัญญา สัญญาต่างตอบแทนต่างๆ อาทิเช่นการทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเจ้าของโครงการมีหน้าที่ต้องก่อสร้างบ้านให้ถูกต้องเรียบร้อยตรงตามกำหนดเวลาในสัญญาจะซื้อจะขาย ส่วนผู้ซื้อก็ต้องมีหน้าที่ชำระเงินตามงวดที่กำหนดไว้ให้แก่ผู้ขาย ปัญหาเกิดขึ้นกรณีผู้ซื้อวางเงินจองและชำระเงินดาวน์แล้วผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนดหรือไม่ได้มาตรฐาน หรือปัญหาจากการที่ผู้ประกอบการนำเงินมัดจำจองและเงินดาวน์ของลูกค้าไปใช้หมุนเวียนของธุรกิจแล้วเกิดปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ผู้ซื้อต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ขายและบางรายไม่อาจบังคับเรียกร้องเงินที่ชำระไปแล้ว หลักการของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้มีคนกลาง (Escrow Agent) เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ให้คู่สัญญาปฏิบัติการชำระหนี้ตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตลอดจนรักษาเงิน ทรัพย์สินหรือเอกสารแห่งหนี้ และจัดให้มีการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สินให้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ซึ่งคู่สัญญาที่ประสงค์จะให้มีคนกลางทำหน้าที่เช่นนี้ต้องทำสัญญาดูแลผลประโยชน์ กับผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา และระบุกำหนดระยะเวลา และเงื่อนไขในการส่งมอบทรัพย์สินหรือเอกสารแห่งหนี้ไว้ด้วย ซึ่งผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาจะทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายตามที่ระบุในสัญญาดูแลผลประโยชน์นั้น อย่างไรก็ตามกฎหมายห้ามไม่ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญามีส่วนได้เสียกับคู่สัญญาทั้งทางตรงหรือโดยอ้อมด้วย สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551
1. สัญญาที่สามารถตกลงให้ผู้ดูแลผลประโยชน์
2. การทำสัญญาดูแลผลประโยชน์
3. ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
4. หน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
5. ค่าบริการของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
6. การคุ้มครองเงินของคู่สัญญา กฎหมายลักษณะเช่นนี้ย่อมเกิดผลดีโดยตรงต่อคู่สัญญา เพราะจะได้รับการปฏิบัติจากอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้ ช่วยลดความเสี่ยงหรือลดจำนวนความเสียหายให้น้อยลง ในส่วนของสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อเงินกู้แก่คู่สัญญาก็มีความมั่นใจเพิ่มขึ้น และยังเกิดมีบริการประเภทใหม่ของสถาบันการเงินโดยได้รับค่าธรรมเนียมในการเปิดบัญชี ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามสัญญาการให้บริการ ในส่วนของ ผู้ประกอบการ การนำระบบนี้มาใช้ย่อมเรียกความเชื่อมั่นของผู้ซื้อ และส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่แต่เดิมมีปัญหาเป็นจำนวนมาก แต่อาจจะมีภาระเรื่องเงินทุนสำรองเพื่อสภาพคล่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายใหม่หรือที่ไม่มีความพร้อมของเงินทุนจำเป็นต้องปรับตัวมากขึ้น และยังต้องระมัดระวังการลงทุนให้รัดกุมมากขึ้นไม่ให้ระยะเวลาการส่งมอบล่าช้าหรือสินค้าไม่ได้คุณภาพ มิฉะนั้นผู้ซื้อก็สามารถที่จะทำเรียกร้องสิทธิของตนตามที่ระบุไว้ในสัญญา อย่างไรก็ตามเชื่อว่าโดยภาครวมแล้วย่อมจะทำให้มีความมั่นใจและส่งผลให้มีการทำ ธุรกรรมมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคและลดความเสี่ยงของผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง ตลอดจนจะช่วยลดข้อพิพาทและคดีความของคู่สัญญาได้ด้วย
อ้างอิงมาจาก
|