Home » ไลฟ์สไตล์, สุขภาพ » การบริหารมือ ให้หายเมื่อยล้าหรือปวดข้อมือ จากการใช้คอมพิวเตอร์ เขียนหนังสือ หรือทำงานต่อเนื่อง

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การบริหารมือ ให้หายเมื่อยล้าหรือปวดข้อมือ จากการใช้คอมพิวเตอร์ เขียนหนังสือ หรือทำงานต่อเนื่อง

ไทยรัฐออนไลน์  วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ.2554

            การใช้งานมือในลักษณะเกร็งอยู่นานๆ หรือใช้มือทำงานอยู่ท่าเดิมนานๆ เป็นประจำ อาจทำให้มีอาการปวดมือและปวดร้าวขึ้นไปที่แขน ซึ่งมักจะมีอาการชาที่นิ้วมือ โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนาง ซึ่งอาการมือชาที่พบโดยส่วนใหญ่ มาจากการกดทับเส้นประสาทที่ฝ่ามือ บางรายถึงขั้นรู้สึกว่าไม่ค่อยมีแรงเวลากำมือ โดยเฉพาะการใช้มือหยิบของเล็กๆ จะทำได้ลำบาก ดังนั้น จะขอแนะนำวิธีบริหารมือสำหรับผู้ที่ต้องใช้มือลักษณะเดิมซ้ำๆ นานๆ และเริ่มมีอาการชาบริเวณมือ นิ้วมือ และข้อมือ เพื่อป้องกันโรคมือชา ดังนี้

เมื่อเกิดอาการเมื่อยล้าหรือปวดข้อมือ จะปฏิบัติอย่างไร

           หลังจากการใช้งานของข้อมือและนิ้วมาก เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง การเขียนหนังสือ การทำงานจับเครื่องมือ มีด กรรไกร นานๆ ฯลฯ จะพบว่าเราจะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณข้อมือ ปวดนิ้วมือ หรือบางครั้งอาจจะมีอาการชาบริเวณนิ้วมือร่วมด้วย นั่นแสดงว่าเนื้อเยื่ออ่อนของมือและแขนเรามีความผิดปกติเกิดขึ้น ถ้าปล่อยไว้จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเนื้อเยื่ออ่อน จะมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บจนนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้นได้

           ดังนั้น การป้องมิให้เกิดอาการบาดเจ็บ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรให้ความสำคัญ การป้องกันและรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การใช้กล้ามเนื้อมือและแขนที่เหมาะสม การยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย หรือการรักษาด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัด เป็นต้น

การบริหารกล้ามเนื้อแขนและข้อมือ

ท่าที่1 กระดกข้อมือขึ้นและลง ดยพยายามเคลื่อนไหวให้ได้ช่วงการเคลื่อนไหวที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำช้าๆ 20 ครั้ง


ท่าที่2 บิดข้อมือไปด้านซ้ายและขวา ทำช้าๆเช่นกัน โดยทำสลับกัน20 ครั้ง

ข้อควรระวัง ในการบริหารจะต้องไม่ฝืน จนทำให้มีอาการบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น

การยืดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนรอบข้อมือ

  • จับมือข้างที่ต้องการจะยืดบริเวณหลังมือ แล้วค่อยๆ กดหลังมือลงช้าๆ จนรู้สึกตึงบริเวณข้อมือ ค้างไว้ 5 วินาที
  • สลับมือ โดยเลื่อนมือมาจับบริเวณนิ้วมือทั้ง 4 นิ้วของมือข้างที่ต้องการจะยืด แล้วค่อยๆยืดในทิศทางที่ข้อมือกระดกขึ้น โดยที่นิ้วทั้ง4 เหยียดตรง ยืดจนรู้สึกตึงบริเวณข้อมือ ค้างไว้ 5 วินาที
  • ทั้งสองท่าทำสลับกันช้าๆ 10 ครั้ง

การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ


ท่าที่1 งอนิ้วมือโดยให้ปลายนิ้วแตะบริเวณโคนนิ้วทั้งสี่ช้าๆ  ซึ่งอุ้งมือจะต้องไม่กำเข้ามาจนสุด แล้วค่อยๆคลายออกให้นิ้วเหยียดตรง ทำ 20 ครั้ง



ท่าที่2 วางลูกบอลขนาดเท่าลูกเทนนิสไว้ในอุ้งมือ ค่อยๆ ออกแรงบีบมากเท่าที่ทำได้ แล้วคลายออก ทำซ้ำ 20 ครั้ง

การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนท่อนล่าง

คว่ำมือลง โดยในมือถือถุงทรายหรือวัตถุที่มีน้ำหนัก ประมาณ 0.5 กิโลกรัม จากนั้นค่อยๆ กระดกข้อมือขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ค้างไว้ 2 วินาที แล้วค่อยๆ กระดกข้อมือลงในทิศทางตรงกันข้าม ค้างไว้ 2 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้ง

สำหรับผู้ที่มีอาการมากแล้ว อาจต้องรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด

     1. การรักษาด้วยคลื่นความถี่เหนือเสียง (ULTRASOUND)
     2. การอบประคบด้วยแผ่นประคบความร้อน (HOT PACK)
     3. การลดปวดโดยใช้เครื่องผลิตกระแสกระตุ้นประสาทผ่านผิวหนัง (TENS)

สำหรับ ผู้ที่มีความจำเป็นต้องทำงานเกร็งมือในท่าเดิมนานๆ ควรหมั่นบริหารข้อมือ นิ้วมือ อยู่เสมอ เพื่อการป้องกันโรคมือชาจากเส้นประสาทโดนกดทับ ซึ่งหากเป็นแล้ววิธีที่ดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ศูนย์ศัลยกรรมทางมือ โรงพยาบาลเวชธานี
www.vejthani.com