Home » แฟ้มข่าว อสังหาริมทรัพย์ » คอนโดมิเนียม,อาคารสำนักงาน,ตึกสูงในกทม.นับหมื่นไม่เสี่ยง เพราะมีกฎกระทรวงต้านทานแผ่นดินไหว ส่วนอาคารเก่าก่อนปี 2550 ต้องปฏิบัติตามกฎหมายต้านแรงลม

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
คอนโดมิเนียม,อาคารสำนักงาน,ตึกสูงในกทม.นับหมื่นไม่เสี่ยง เพราะมีกฎกระทรวงต้านทานแผ่นดินไหว ส่วนอาคารเก่าก่อนปี 2550 ต้องปฏิบัติตามกฎหมายต้านแรงลม

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2622  
31 มีนาคม - 2 เมษายน พ.ศ. 2554

คอนโดมิเนียม /อาคารสำนักงาน/ตึกสูงในกทม.นับหมื่นแท่งไม่เสี่ยง   เหตุมีกฎต้านแผ่นดินไหว  กทม.-วิศวกร-เอกชน  ส่วนอาคารเก่าก่อนปี 2550 ต้องปฏิบัติตามกฎต้านแรงลม    ย้ำเมืองหลวงไม่มีรอยเลื่อน แม้รู้สึกได้ต่อการสั่นสะเทือน

          แหล่งข่าวจากสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า   จากการตรวจสอบอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานครหลังจากเกิดแผ่นดินไหวจากประเทศพม่า 6.9 ริกเตอร์ และอาคารในเขตกทม. สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนพบว่า อาคารสูงนับ 10,000 อาคาร ที่กระจายอยู่ทั่วไป ประกอบด้วยคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน โรงแรม  อาคารจอดรถ โรงพยาบาล ฯลฯ  มีโครงสร้างมั่นคงแข็งแรง

          โดยเฉพาะอาคารที่ก่อสร้างหลังจากวันที่ 3 พฤศจิกายน 2550 ช่วงที่บังคับใช้กฎกระทรวงมหาดไทยให้อาคารสูงขนาด 15 เมตรขึ้นไป หรือ 5 ชั้น ออกแบบโครงสร้างเผื่อรับแรงแผ่นดินไหวซึ่งอาคารดังกล่าวสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้มากถึง 5 ริกเตอร์ หากเกิดแผ่นดินไหว ส่วนอาคารที่ก่อสร้างก่อนปี 2550 หรือช่วงที่กฎกระทรวงต้านทานแผ่นดินไหวยังไม่บังคับใช้  หากเป็นอาคารสูง จะไม่มีผลกระทบเช่นกัน เพราะทุกอาคาร จะมีกฎหมายต้านแรงลม ตามหลักคำนวณของวิศวกร ออกแบบอาคาร ซึ่งจะเผื่อโครงสร้างรับแรงลมกรณีเกิดพายุ  ซึ่งจะไม่ต่างกับแผ่นดินไหวซึ่งสามารถใช้ร่วมกันได้  ที่สำคัญกทม.ไม่มีรอยเลื่อนเพียงแต่รับแรงสั่นสะเทือนที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น

         นอกจากนี้อาคารที่อยู่ในข่ายดังกล่าว จะต้องตรวจสอบสภาพโครงสร้างอาคารตามกฎหมายตรวจสอบอาคาร 9 ประเภท อาทิ  อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารอยู่อาศัยรวม โรงพยาบาล โรงแรม สถานศึกษา โรงมหรสพ อาคารชุมนุมคน  อาคารศูนย์การค้า ป้าย ของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานโดยให้วิศวกรหรือ บริษัทรับตรวจสอบอาคาร ตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี และตรวจสอบย่อยทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาจนกระทั่งหลังจากแผ่นดินไหวเงียบสงบลงที่ พม่าก็มีพบอาคารในกทม.เสียหายแต่อย่างใด ส่วนที่เสียหายในจังหวัดทางภาคเหนือ จะเป็นอาคารบ้านเรือนทั่วไปที่สร้างจากวัสดุที่ไม่แข็งแรง

         "ที่ผ่านมา กทม. ออกตรวจสอบอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหว โดยเน้นอาคารที่มีผู้คนพักอาศัย หรือทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงอาคารที่อยู่ใกล้ย่านธุรกิจ และใช้ประโยชน์ค่อนข้างมาก เบื้องต้นพบมี 12 อาคารที่สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ คือ 1. อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 30 ชั้น  2.อาคารเฟิร์ส ทาวเวอร์ 22 ชั้น  3.ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ 29 ชั้น  4.อาคารออลซีซัน 53 ชั้น 5.อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 58 ชั้น  6.อาคารชัยทาวเวอร์ 30 ชั้น  7.อาคารเบญจจินดา 36 ชั้น 8.อาคารชินวัตร 3 32 ชั้น 9.อาคารไอทาวเวอร์ 32 ชั้น 10.ธนาคารทหารไทย 34 ชั้น 11.อาคารซันทาวเวอร์ 40 ชั้น และอาคารซันทาวเวอร์ 34 ชั้น   และได้ตรวจสอบอาคารดังกล่าว ไม่มีผลกระทบรุนแรงจากการเกิดแผ่นดินไหวในพม่าแต่อย่างใด"  

         ด้าน นายประสงค์ ธาราไชย อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า อาคารสูงจะไม่กระทบ เพราะส่วนใหญ่ถูกออกแบบโดยวิศวกรที่ชำนาญการรวมถึงการคำนวณโครงสร้างรับแผ่นดินไหวในกรณีที่อาคารสร้างหลังกฎกระทรวงออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว เมื่อปลายปี 2550 ที่ผ่านมา ส่วนอาคารเก่าที่เป็นตึกสูง อาทิ คอนโดมิเนียม โรงพยาบาล โรงแรม อาคารสำนักงาน จะไม่ได้รับผลกระทบเช่นกันเพราะทุกอาคารต้องออกแบบให้อาคารต้านทานแรงลมค่อนข้างสูง ดังนั้นที่ผ่านมาจึงเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งจะไม่พบอาคารในกทม.ถล่ม แม้อาคารที่เก่ามากๆ ก็ตาม ส่วนอาคารเตี้ยประเภทที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ หากเกิดแผ่นดินไหวในกทม. ก็จะถล่มได้แต่ถ้ารับรู้ถึงการสั่นสะเทือนจากประเทศเพื่อนบ้านเท่าที่พบก็ไม่อาคารใดถล่มแต่อย่างใด 

         สอดคล้องกับนายอธิป พีชานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า  คอนโดมิเนียมทุกแห่งในกทม.มีโครงสร้างมั่นคงแข็งแรง เพราะวิศวกรออกแบบให้รับแรงลมและแผ่นดินไหว แม้อาคารที่สร้างก่อนที่กฎกระทรวงต้านแผ่นดินไหวบังคับใช้ ก็มั่นใจว่ามีโครงสร้างแข็งแรง และไม่เคยพบว่าจะมีเหตุอาคารสูงในกทม.ถล่ม ทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหวจากเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย จนเกิดสึนามิครั้งใหญ่ในทะเลแถบอันดามัน  และแรงสั่นสะเทือนก็รับรู้ได้ถึงกทม.แต่ก็ไม่มีอาคารใดมีปัญหา และล่าสุดแผ่นดินไหวในพม่าก็ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น แต่อาคารที่ยอมรับว่าเสี่ยงน่าจะเป็นอาคารพาณิชย์ และอาคารเตี้ยทั่วไป
 

ที่มา   http://www.thanonline.com