Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
คอนโดฯ ปี 2554 วิเคราะห์ 10 ทำเลขายดี |
โฟสต์ ทูเดย์ 25 พฤษภาคม 2554 ผ่า 10 ทำเลฮอต คอนโดฯ ขายดี
บรรยากาศการเปิดตัวโครงการใหม่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ยังคงคึกคักทั้งในส่วนของบ้านแนวราบ และคอนโดมิเนียม โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดสัมมนาวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ – ปริมณฑล ปี 2554 โดยนำเสนอข้อมูลจากการสำรวจโครงการที่อยู่ระหว่างเหลือขายไม่ต่ำกว่า 6 หน่วย ณ สิ้นปี 2553
1. ทำเลเพลินจิต วิทยุ ที่แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นห้องชุดระดับไฮเอนด์ 7.5 ล้านบาทขึ้นไป แต่ก็ถือว่ามียอดขายที่ดี เพราะมีสัดส่วนการขายสูงถึง 77% ปัจจุบันจึงมีหน่วยเหลือขายอยู่เพียง 225 เท่านั้น แต่ต้องยอมรับว่า ทำเลนี้ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเรื่องการเมือง และกลายเป็นพื้นที่ที่ต้องมาในวันที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ของการชุมนุม 2. ทำเลสีลม สาทร ซึ่งเป็นทำเลที่ได้รับความนิยมต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนการขายสูงถึง 73% และมีหน่วยเหลือเพียง 1,678 หน่วย 3. สุขุมวิทตอนต้น (ซอย 1 - เอกมัย) ที่มีจำนวนสะสมในตลาดสูงถึงเกือบ 1 หมื่นหน่วย แต่ก็มีสัดส่วนการขายสูงถึง 72% เช่นกัน 4. ทำเลพระราม 3 ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์หลายรายให้ความสนใจเปิดโครงการใหม่ แต่สัดส่วนการขายยังไม่สูงนัก อยู่ที่ประมาณ 59% เท่านั้น และมีจำนวนเหลือขายสูงกว่าโซนที่อยู่ติดรถไฟฟ้า 5. โซนพหลโยธิน ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีการเปิดตัวโครงการใหม่ค่อนข้างมาก แต่กลับมียอดขายที่ดีมาก สะท้อนได้จากมีสัดส่วนการขายสูงถึง 74% และมีหน่วยเหลือขายเพียง 1,589 ยูนิตเท่านั้น 6. โซนรัชดา-ลาดพร้าว ที่มีการเปิดตัวค่อนข้างมาก หน่วยสะสมสูงกว่า 2.1 หมื่นหน่วย แต่มียอดขายที่สูงกว่า 1.5 หมื่นหน่วย คิดเป็นสัดส่วนการขายอยู่ที่ 71% 7. ทำเลสุขุมวิทตอนปลาย (เอกมัย-บางพลี) ก็เป็นอีกหนึ่งโซนที่มียอดขายที่ดีมาก ประเมินได้จากหน่วยขายสะสมสูงถึง 2.4 หมื่นหน่วย แต่ปิดการขายได้ถึง 1.7 หมื่นหน่วย หรือ 70% ซึ่งคาดการณ์ว่า หลังรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่งเปิดให้บริการแล้ว ทำเลนี้จะกลับมาคึกคักยิ่งขึ้น และโครงการที่ชะลอตัวไปจะฟื้นกลับมา 8. ทำเลธนบุรี รับอานิสงส์รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายกรุงธนบุรี-วงเวียนใหญ่ และมีการเปิดตัวโครงการได้สอดคล้องกับความต้องการ จึงสามารถปิดการขายได้ถึง 79% เหลือขายเพียง 1,126 เท่านั้น ซึ่งคาดว่าจะร้อนแรงขึ้น หลังจากส่วนต่อขยายวงเวียนใหญ่-บางหว้า มีความชัดเจน 9. ทำเลหลักสี่- ดอนเมือง- แจ้งวัฒนะ-รัตนาธิเบศร์ ที่ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่าศูนย์ราชการ และแรงขับของรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะทำให้ความต้องการสูง จึงมีโครงการเปิดใหม่จำนวนมาก แต่ประเมินจากยอดขายในย่านนี้แล้ว กลับพบว่า มีสัดส่วนเพียง 40% จากจำนวนซัพพลายสะสม 8,723 หน่วย ถือว่าอัตราการขายยังช้าอยู่มาก จึงมีจำนวนเหลือขายสูงถึง 5,251 หน่วย 10. ทำเลเกาะแนวรถไฟฟ้าน้องใหม่แอร์พอร์ตลิงค์ ที่ทำให้โซนรามคำแหง หัวหมาก มีความน่าสนใจมากขึ้นด้วยการมีหน่วยขายสะสมเกือบ 1 หมื่นยูนิต ซึ่งอัตราการขายก็ไม่เลวนัก อยู่ที่ 62% และมีจำนวนหน่วยเหลือขายประมาณ 3,700 หน่วยเท่านั้น นายสัมมา กล่าวต่อว่า ทำเลสำหรับแนวราบส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่รอบเมือง โดยมีบางทำเลที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังเรื่องซัพพลาย เช่น บางเขน สายไหม ที่มีจำนวนเปิดขายใหม่สูงมาก เช่นเดียวกับโซนลำลูกกา โซนเมืองนนทบุรี ส่วนบริเวณอ่อนนุช-แบริ่ง มีจำนวนเหลือขายค่อนข้างสูง คาดว่าหลังรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเปิดให้บริการ ตลาดจะปรับตัวดีขึ้น จากสถานการณ์ที่กล่าวถึงในส่วนของคอนโดมิเนียมและแนวราบ จะเห็นได้ว่า ทำเลที่มีอัตราการขายที่ดีเกินกว่า 70% ล้วนเกาะอยู่ในแนวของรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น หรือแม้แต่โอกาสที่ทำเลนั้นๆ จะฟื้นตัวกลับมา ก็อาจต้องอาศัยการเกิดของรถไฟฟ้า ส่วนสายใหม่ที่เพิ่งเปิดให้บริการ อาจจะต้องใช้เวลาอีกสักพักในการสร้างความคุ้นเคยกับตลาด ทางด้านภาคเอกชน นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวให้ความคิดเห็นว่า ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ควรสานต่อนโยบายขนส่งมวลชนอย่างต่อเนื่อง และควรจัดการระบบการเดินรถแต่ละเส้นทางให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ ไม่ว่าผู้บริหารเส้นทางรถไฟฟ้านั้นๆ จะเป็นหน่วยงานใด เนื่องจากประชาชนไม่สามารถเข้าใจได้ว่า การที่รถไฟฟ้าทั้ง 3 ระบบลอยฟ้า ใต้ดิน แอร์พอร์ตลิงค์ ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเพราะมีหน่วยงานรับผิดชอบที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ รัฐควรผลักดันเรื่องตั๋วร่วมให้สำเร็จ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาคประชาชน และสร้างความสะดวกในการเข้าถึงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ เพื่อให้รถไฟฟ้าที่ลงทุนก่อสร้างมาได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง และควรใช้แอร์พอร์ตลิงค์เป็นกรณีศึกษาในการสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ๆ ว่าเมื่อรัฐสร้างรถไฟฟ้าแล้ว ควรที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าถึงการใช้รถไฟฟ้าด้วย ด้านภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้มีแนวโน้มที่ชัดเจนว่า ตลาดแนวราบจะมาแรง โดยนายเมธา อังวัฒนพานิช รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสสายงานพัฒนาธุรกิจและพัฒนาโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ กล่าวว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่เกือบทุกรายจะหันมาเน้นแนวราบมากขึ้น โดยในส่วนของบ้านเดี่ยว ปีนี้กลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์จะเป็นเจ้าใหญ่ในการเปิดตัวโครงการมากที่สุด ส่วนทาวน์เฮ้าส์ จะเป็นกลุ่มพฤกษา อีกทั้ง ระดับราคาที่มีตลาดมีความต้องการต่อเนื่องในส่วนของบ้านเดี่ยว คือ 3-5 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่ราคาต่อหน่วยจะขยับลงมาอีก หรืออาจจะได้เห็นกลุ่มบ้านเดี่ยว 1-2.99 มากขึ้น เพื่อรองรับกำลังซื้อของผู้บริโภค ส่วนกลุ่มบ้านเดี่ยวราคา 10 ล้านบาท แม้มีโอกาสที่จะฟื้นตัว แต่หากรายใหม่จะเข้ามาต้องระวังเรื่องซัพพลาย ส่วนทาวน์เฮ้าส์ กลุ่ม 1-3 ล้านบาทจะยังคงเป็นตลาดหลัก ไม่เพียงปัจจัยเรื่องซัพพลายในตลาดคอนโดฯ เพิ่มสูงขึ้นแล้ว แต่อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาพัฒนาโครงการแนวราบมากขึ้น นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส กล่าวว่า รายใหญ่ต้องปรับพอร์ตการลงทุนใหม่ หลังจากที่หันทำคอนโดมิเนียมเป็นจำนวนมาก แล้วส่งผลให้กระแสเงินสดติดลบ เพราะต้องรอจนกว่าอาคารก่อสร้างเสร็จ จึงจะรับรู้รายได้ แต่ทำแนวราบใช้เวลาเพียงไม่นานก็รับรู้รายได้ได้ทันที การเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ ล้วนจำเป็นต้องอยู่ในทำเลที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ซึ่ง ณ เวลานี้ ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่อาศัยแนวราบหรือแนวสูง คงหนีไม่พ้นทำเลที่สามารถเข้าถึงรถไฟฟ้าได้สะดวก
|