Home » แฟ้มข่าว อสังหาริมทรัพย์ » ธุรกิจอสังหาฯ เตรียมรับมือผลกระทบ น้ำท่วม ถึงปี 55

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ธุรกิจอสังหาฯ เตรียมรับมือผลกระทบ น้ำท่วม ถึงปี 55

หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันที่ 25 ตุลาคม 2011

AREAแนะอสังหาฯรับมือผลกระทบ ‘น้ำท่วม’ถึงปี55

ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย  เผยตลาดอสังหาฯครึ่งแรกของปี 54 โต ชี้บ้านเหลือขายเพียง 135,598 หน่วย พร้อมส่งสัญญาณเตือน “ปัญหาน้ำท่วม” อาจกระทบภาคอสังหาฯในปี 55 แนะผู้ประกอบการ-แบงก์ปรับตัว

           ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด หรือ AREA เปิดเผยว่า จากการสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปี 2554 พบว่ามีโครงการที่อยู่อาศัยเหลือขาย 135,598 หน่วย หรือ 13% ของหน่วยทั้งหมด มูลค่าโครงการ 402,452 ล้านบาท หรือ 11% โดยอาคารชุดเหลือขายมากที่สุด 40% รองลงมาคือบ้านเดี่ยว 35% ทาวน์เฮาส์ 16% ที่เหลือเป็นอสังหาฯอื่นๆ

           ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่ามีโครงการที่อยู่อาศัยหยุดการขายเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึง 12 โครงการ โดยครึ่งแรกของปี 2554 มีจำนวน 78 โครงการ 17,750 หน่วย มูลค่า 42,724 ล้านบาท ขณะที่ปี 2553 มีโครงการหยุดขาย 66 โครงการ จำนวน 14,420 หน่วย มูลค่า 34,442 ล้านบาท สาเหตุที่หยุดการขาย เช่น 1.สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อ 23 โครงการ คิดเป็น 29% 2.รูปแบบสินค้าไม่เหมาะสม 21 โครงการ คิดเป็น 27% 3.ไม่ผ่าน EIA 10 โครงการ คิดเป็น 13% เป็นต้น อย่างไรก็ดี แม้โครงการจะหยุดขายเพิ่มขึ้น แต่ทว่าหน่วยขายในปี 2554 ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันคือ 3,330 หน่วย หรือ 23% มูลค่าโครงการ 8,282 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 24% สำหรับราคาที่อยู่อาศัยพบว่าปรับเพิ่มขึ้น 23% ส่วนที่ปรับราคาลงเพียง 9% ที่เหลือ 68% ยังคงราคาเดิม

             ดร.โสภณกล่าวถึงปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในปี 2555 ว่าน้ำท่วมใหญ่ในปีนี้อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาฯอย่างรุนแรง ทุกฝ่ายควรมีแผนตั้งรับ เนื่องจากทำเลซื้อที่อยู่อาศัยอาจเปลี่ยนไป โดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำท่วมซ้ำซาก ที่สำคัญที่สุดคือเศรษฐกิจในปี 2555 อาจทรุดลง เนื่องจากการส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมาก จึงมีโอกาสที่ความสามารถในการซื้อของประชาชนจะลดลง ทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวลงในปี 2555 การผิดนัดโอนบ้านและผ่อนส่งบ้านก็จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการประสบปัญหาและปิดกิจการลงสถาบันการเงินอาจสะดุดเช่นกัน นอกจากนี้ผู้ซื้อบ้านที่ดีที่จองซื้อบ้านกับโครงการต่างๆ โดยไม่ได้รับมาตรการคุ้มครองผู้ซื้อ เพราะไม่มีการนำพระราช บัญญัติคุ้มครองคู่สัญญา (Escrow Account) มาใช้อาจได้รับความเดือดร้อนไปด้วย อย่างไรก็ดี แม้ภายหลังน้ำท่วมอาจมีการก่อสร้างเพิ่มเติม แต่การฟื้นฟูไม่ใช่การก่อสร้างใหม่ และอาจเกิดความต้องการซื้อห้องชุดใจกลางเมืองเพิ่มขึ้น แต่คงไม่ได้คึกคักมากนัก


           “ตอนนี้ผู้ประกอบการอสังหาฯควรทบทวนแผนกลยุทธ์ของบริษัทใหม่ โอกาสที่จะเพิ่มการผลิตปีละ 20-30% อาจเป็นไปได้น้อยลง ซึ่งวิกฤตปี2540 ได้ให้ข้อสรุปว่าการหยุดการผลิตเพิ่ม การเร่งขายสินค้าที่ยังมีอยู่ในมือ การใช้หนี้ให้หมดโดยเร็ว อาจเป็นทางออกสำคัญในการป้องกันปัญหาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้”

ที่มา dailyworldtoday.com