Home » แฟ้มข่าว อสังหาริมทรัพย์ » ตรวจอาคารตัดราคาเละ-เหมาตึกละ3พัน

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ตรวจอาคารตัดราคาเละ-เหมาตึกละ3พัน

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2,559  22-25  สิงหาคม พ.ศ. 2553

              ผู้รับตรวจสอบอาคารทั้ง นิติบุคคลนามบุคคลกว่า  2,000 ราย  วิ่งหาเจ้าของคอนโดฯ-อพาร์ตเมนต์ ขนาด 5,000-ไม่เกิน1,000 ตารางเมตร อยู่ในข่าย หาผู้ชำนาญการตรวจสอบ พร้อมส่งรายงานผลภายใน 24ตุลาคมนี้   เฮโล ตัดราคากันสนั่น จากตารางเมตรละ 2บาท  หรือ หลักแสนบาท เหลือต่ำสุดๆแบบเหมายกตึกแค่ 3,000 บาท พร้อมเดินเรื่องรับใบ"ร.1" ให้เบ็ดเสร็จ วงในเผยกรณีรับงานในนามบุคคลมีสิทธิ์ล้มตาย 80%ไม่ได้งาน เอกชนยันก.ม.ทำอะไรไม่ได้แค่เอื้อให้วิศวกรมีรายได้

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้ กทม.ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังเจ้าของอาคารในเขตกทม. ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง10,000 ตารางเมตร เพื่อ ว่าจ้าง ผู้ชำนาญการเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยในอาคาร ตามที่กฎหมายตรวจสอบอาคารกำหนด  พร้อมทั้งส่งรายงานผลการตรวจสอบต่อกทม. ภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2553 นี้ ซึ่งพบว่า มีจำนวนกว่า 2,000 อาคาร  จาก ทั้งหมด 7,000 อาคารทั่วประเทศ
   
อย่าง ไรก็ดี อาคารสูงขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร สูงเกิน 23เมตรขึ้นไป จะอยู่ในข่ายต้องตรวจสอบไปแล้ว จำนวนกว่า 5,000 อาคาร ปัจจุบันแม้จะมีอาคารที่ค้างตรวจสอบโดยไม่ส่งรายงานกว่า 1,000อาคาร  โดยผู้ฝ่าฝืน ล่าสุดทั้งกทม.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ลงโทษตามที่กฎหมายของกรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนด คือจำคุก 3เดือน ปรับ 60,000 บาท และหากเพิกเฉยปรับวันละ 10,000 บาทจนกว่าจะดำเนินการ มองว่ากฎหมายเกิดขึ้นเพราะต้องการให้วิศวกรมีรายได้มากกว่า เพราะทุกปีต้องมีการตรวจสอบ และมีแนวโน้มอาคารทั้งที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ  โรงงานอุตสาหกรรม จะขยายตัวเพิ่มขึ้น  

ที่ ผ่านมา กทม.ไม่สามารถออกใบ ร.1 หรือใบรับรองความปลอดภัยในอาคารให้กับเอกชนกรณีอาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ และอาคารสูงชุดแรกได้ เนื่องจากมีปัญหาว่าหลายอาคารมีความบกพร่อง ต้องแก้ไข บางรายวิศวกรผู้ตรวจสอบอาคารไม่เซ็นรับรองผล ส่งผลให้กทม.ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้

     ขณะที่ นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า อาคารชุด อพาร์ตเมนต์ขนาด 5,000 ตารางเมตร ไม่เกิน 10,000ตารางเมตร ส่วน ใหญ่จะอยู่ในกทม. ส่วนต่างจังหวัดมีไม่มาก รวมแล้ว 6,000-7,000 อาคาร   โดยที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีแม้กฎหมายไม่เข้มงวดต่อบทลงโทษ และมีอาคารบางแห่งเพิกเฉยไม่ดำเนินการเพราะทราบว่าพวกเขาจะไม่รับโทษ แต่เจ้าของอาคารส่วนใหญ่ก็มีความตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐ  โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียมที่เน้นความปลอดภัยในอาคารเพราะมีผู้อยู่อาศัยนับ 100 คนต่อ 1 อาคาร แต่เรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบจะเป็นของนิติบุคคลอาคารชุดเพราะนอกเหนือ จากผู้ประกอบการดูแลหรือ ขายโครงการไปหมดแล้ว และนำค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากค่าตรวจสอบอาคารมาถัวเฉลี่ย ผลักภาระให้กับผู้บริโภคเพื่อหักเป็นค่าใช้จ่ายจากทรัพย์ส่วนกลางต่อไป
          ขณะที่ผ่านมา มีผู้ตรวจสอบอาคารในนามนิติบุคคล และ ในนามบุคคลได้วิ่งหาผู้ประกอบการ และเจ้าของอาคารจำนวนมากโดยเฉพาะอาคารชุดเพื่อของาน  ซึ่งขณะนี้มีการตัดราคากันรุนแรงมาก  โดยต่ำสุดเสนอขอเหมาแบบยกตึกเบ็ดเสร็จ แค่ 3,000 บาท ทั้งอาคารขนาดใหญ่และอาคารขนาด 5,000-ไม่เกิน10,000 ตารางเมตร ซึ่งมองว่า ปริมาณผู้ตรวจสอบอาคารมีมากเกินกว่าอาคาร ส่วนบริษัทที่ลงทุนเครื่องมือและบุคลากรเฉพาะด้าน จะเสียเปรียบด้านราคาเพราะเจ้าของอาคารก็ต้องเลือกรายที่ถูกที่สุดเพราะเขา มั่นใจว่าอาคารมีความมั่นคงแข็งแรงอยู่แล้ว
          นอกจากนี้มองว่ากฎหมายตรวจสอบอาคารไม่มีประสิทธิภาพในการใช้บังคับเพราะมีบท ลงโทษแต่ท้องถิ่นไม่กล้าใช้และบางรายไม่กล้าเซ็นรับรอง เพราะบางอาคารมีระบบที่แย่จริงๆ จนผู้ตรวจสอบไม่กล้าเซ็น ที่สำคัญกฎหมายนี้ออกมาเพื่อสนับสนุนวิศวกร สถาปนิก ให้มีงานทำ มีรายได้เป็นกอบเป็นกำแม้จะมีการตัดราคา แต่ในแต่ละปีก็ย่อมมีลูกค้าในมือ ที่ต้องประสานงานให้ตรวจสอบต่อเนื่องทุกปี โดยยังไม่รวมรายใหม่ที่ต้องวิ่งเข้าหาลูกค้าพร้อมเสนอราคาตรวจสอบในราคาแบบ ถูกมากๆ  

        โดยบริษัท ผู้ตรวจสอบอาคารที่มีชื่อเสียงรายหนึ่ง ออกมาให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ ผู้ตรวจสอบอาคาร ที่เป็นรายบุคคล มี 2,000 ราย และในนามนิติบุคคล 100-200 ราย ปัจจุบันมีการตัดราคากันเละเทะ  โดยอาคารขนาดใหญ่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ขอเหมาตึกแค่ 5,000บาท ใช้เวลาตรวจเพียงวันเดียวก็มี บางรายมีแคมเปญจูงใจถึงขั้นจัดส่งเอกสารหลักฐานให้กทม.และรอรับใบร.1ให้ ขณะที่ราคาปกติที่ผ่านมา จะอยู่ที่ 30,000-170,000 บาทต่ออาคาร ใช้เวลาตรวจ 2-3 วัน
          ที่ผ่านมาภาครัฐเปิดกว้างเกินไป โดยในนามบุคคลเพียงคนเดียว มองว่าไม่น่าจะมีความรู้ในทุกด้านของอาคาร ทั้งงานก่อสร้าง ระบบไฟฟ้า ฯลฯ แต่ก็สามารถรับงานได้ ส่วนในรูปบริษัทที่มีทีมงานครบทุกงานด้านวิศวกรรม  มีการลงทุนทั้งบุคลากร อุปกรณ์ต่างๆ จะเสียเปรียบ ส่งผลให้ มีผลกระทบตามมา และมีความเป็นไปได้กว่า 80% ของผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องล้มหายตายจาก เพราะไม่มีงาน อีกปัญหาก็คือ กทม.ไม่ยอมออกใบร.1ให้ กับเจ้าของอาคาร เพราะปริมาณงานตรวจสอบอาคารโดยไม่รวมกับการยื่นขออนุญาตอาคารมากองรวมศูนย์ ที่ กองควบคุมอาคารของกทม.หมด ขณะที่เจ้าหน้าที่มีเพียงไม่กี่ราย ที่ผ่านมา เจ้าพนักงานจะใช้วิธีตีกลับรายงานการตรวจสอบอาคาร ว่าให้แก้ไขบ้าง ชื่อผิดบ้างแต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว ไม่มีข้อบกพร่องอะไร ซึ่งเข้าใจว่า กทม.ทำงานไม่ทัน และกฎหมายมีระยะเวลารัดคออยู่หาก ไม่พิจารณาออกใบร.1ภายใน 60 วัน ให้ถือว่า อาคารนั้นถูกต้อง และเกรงว่าจะมีความผิดและหากเกิดอะไรขึ้น หากลงนามรับรองลงไป

ที่มา http://www.goprocurement.com/news/news_detail.php?news_id=000415