Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
การศึกษา แนวทางสหกรณ์บริการชุนชน ในโครงการบ้านเอื้ออาทร |
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
เรื่อง การศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์บริการชุนชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร หลักการและเหตุผลตามนโยบายของรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงการคลังร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมอบให้การเคหะแห่งชาติดำเนินการจัดทำโครงการบ้าน เอื้ออาทรสำหรับผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาสในชุมชนเมืองให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองจำนวน 600,000 หน่วย ในเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2546 – 2550) ซึ่งนอกจากการสร้างที่อยู่อาศัยแล้ว การเคหะแห่งชาติต้องสร้างคนให้มีคุณภาพตามไปด้วย และเพื่อให้โครงการบ้านเอื้ออาทรสมบูรณ์ในทุกๆ ด้านการเคหะแห่งชาติก็ควรสร้างวัฒนธรรมเอื้ออาทรในแต่ละชุมชนไปพร้อมกับการสร้างที่อยู่อาศัยในแต่ละโครงการซึ่งวัฒนธรรมการเอื้ออาทรให้มีการสร้างงาน สร้างโอกาส สร้างชุมชนให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และใช้ระบบสหกรณ์ในการบริหารจัดการชุมชน ดังนั้น การเคหะแห่งชาติได้ประสานความร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการจัดตั้งสหกรณ์ในโครงการบ้านเอื้ออาทร โดยจัดตั้งเป็น สหกรณ์บริการ ประเภทสหกรณ์บริการชุมชนเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการเสริมสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัย และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยที่เช่าซื้อที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านเอื้ออาทร สหกรณ์บริการชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิตคลอง 3 จำกัด จังหวัดปทุมธานี จดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2547 เป็นสหกรณ์นำร่องในโครงการบ้านเอื้ออาทร ซึ่งหลังจากจัดตั้งเป็นสหกรณ์แล้ว สหกรณ์ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจให้เป็นรูปธรรม เพียงแต่เรียกเก็บเงินค่าหุ้นจากสมาชิกและเก็บค่าหุ้นสะสมรายเดือนเป็นการออมเท่านั้น ซึ่งหากสหกรณ์ไม่สามารถดำเนินธุรกิจตามรูปแบบของสหกรณ์บริการชุมชน เช่น การบริหารและจัดการทรัพย์สินส่วนกลางของ หมู่บ้าน การรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน การรักษาความสะอาดของหมู่บ้าน การจัดการดูแลระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสหกรณ์ ในอนาคตได้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการดำเนินธุรกิจแต่ละประเภทของสหกรณ์บริการชุมชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากสหกรณ์ได้นำไปปฏิบัติส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สมาชิกมีความกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงเห็นควรศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์บริการชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสหกรณ์รูปนี้ต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษารูปแบบและการดำเนินงานของสหกรณ์บริการชุมชนที่ประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จ การศึกษาครั้งนี้มีขอบเขตการศึกษาเฉพาะสหกรณ์บริการชุมชนที่ดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จ จำนวน 9 สหกรณ์ ที่ดำเนินธุรกิจในช่วงปี 2544 – 2548 และสหกรณ์บริการชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร 3 สหกรณ์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบรูปแบบและผลการดำเนินงานของสหกรณ์บริการชุมชน ผลการศึกษา1. สหกรณ์บริการชุมชนสหกรณ์บริการชุมชนทั้ง 9 สหกรณ์ ได้มีการจัดตั้งและจดทะเบียนสหกรณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2529-2541 โดยมีลักษณะเป็นหมู่บ้านจัดสรร มีทั้งบ้านเดี่ยว อาคารชุด ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินจัดสรร สวนเกษตรและอาคารพาณิชย์ การจัดตั้งเป็นสหกรณ์เนื่องจากเมื่อโครงการได้จัดสรรที่ดินและบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้วไม่มีผู้บริหารดูแลจัดการด้านสาธารณูปโภคของหมู่บ้านสมาชิกในหมู่บ้าน จึงรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ประเภทบริการ สหกรณ์มีสมาชิกเฉลี่ย 293 คน โดย สหกรณ์บริการชุมชนด่านสำโรง จำกัด มีสมาชิกมากที่สุด 580 คน และสหกรณ์บริการชุมชนสวนบางเขน จำกัด มีสมาชิกน้อยที่สุด 88 คน ทุนเรือนหุ้น สหกรณ์มีทุนเรือนหุ้นเฉลี่ย 0.876 ล้านบาท โดยสหกรณ์บริการชุมชนบ้านแมกไม้มีมากที่สุด 4.116 ล้านบาท และสหกรณ์บริการชุมชนสวนบางเขน จำกัดมีน้อยที่สุด 0.010 ล้านบาท
ทุนสำรอง สหกรณ์มีทุนสำรองเฉลี่ย 0.92 ล้านบาท โดยสหกรณ์บริการชุมชนเลคไซด์วิลล่า 1 จำกัด มีจำนวนมากที่สุด 2.47 ล้านบาท และสหกรณ์บริการชุมชนหมู่บ้านสวนขวัญนครชัยศรี จำกัด ไม่มีทุนสำรองเนื่องจากขาดทุนมาโดยตลอด รูปแบบการดำเนินธุรกิจและการให้บริการสมาชิกสหกรณ์บริการชุมชนทั้ง 9 สหกรณ์ดำเนินธุรกิจด้านบริการสาธารณูปโภค ด้านการรักษาความปลอดภัย การให้เงินกู้ การบริการให้เช่าสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ บริการซ่อมบำรุงสาธารณูปโภคและบริการด้านอื่น ๆ สหกรณ์จึงมีรายได้จากธุรกิจบริการจากการเก็บค่าบริการส่วนกลาง ค่าเช่าสถานที่ สระว่ายน้ำ สนามกีฬา ค่าผ่านทาง เช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ค่าบริการน้ำ ทำความสะอาด งานเกษตร บริการด้านการออกกำลังกาย งานซ่อมบำรุง การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ค่าสติ๊กเกอร์เข้าหมู่บ้าน ปัญหาและอุปสรรค
1) สหกรณ์บริการชุมชนส่วนใหญ่จะมีปัญหาเกิดจากการที่สมาชิกไม่ยอมชำระค่าบริการส่วนกลาง ผลจากการศึกษาการดำเนินธุรกิจตามรูปแบบของสหกรณ์บริการชุมชนทั้ง 9 สหกรณ์ พบว่า สหกรณ์ที่ประสบผลสำเร็จส่วนใหญ่จะเป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ เนื่องจากมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบสามารถจัดเก็บค่าบริการส่วนกลางได้ในเปอร์เซนต์ที่สูง และบริการด้านต่าง ๆ ให้กับสมาชิกได้อย่างทั่วถึง มีพร้อมทั้งอุปกรณ์การอำนวยความสะดวกและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษา สมาชิกมีความเข้าใจและการเสียสละเพื่อส่วนรวม ส่วนใหญ่สมาชิกจะเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพ มีฐานะและการศึกษาอยู่ในระดับเดียวกัน และคณะกรรมการเป็นผู้ที่มีความตั้งใจจริงที่จะเข้าไปดำเนินงานด้านการบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้แก่สมาชิก ส่วนสหกรณ์ที่ไม่ประสบผลสำเร็จส่วนมากจะเป็นสหกรณ์ขนาดเล็ก เนื่องจากสมาชิกเป็นผู้มีฐานะปานกลางมีหลากหลายอาชีพที่แตกต่างกันมากมีรายได้ไม่แน่นอน จึงไม่สามารถชำระค่าบริการส่วนกลางได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเสียสละเพื่อส่วนรวมดีพอ บางหมู่บ้านสมาชิกไม่ได้อยู่เป็นประจำทุกวันและสมาชิกมีปัญหาทางด้านสาธารณูปโภคกับสหกรณ์ จึงไม่ยอมให้ความร่วมมือทำให้สหกรณ์ไม่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้านบริการ 2. สหกรณ์บริการชุมชนบ้านเอื้ออาทร
สหกรณ์บริการชุมชนบ้านเอื้ออาทร เป็นสหกรณ์บริการชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทรตามนโยบายรัฐบาล ลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น เนื้อที่ 20 ตารางวา และเป็นอาคารชุดขนาดห้องพื้นที่ 24 ตารางเมตร 32 ตารางเมตร และ 33 ตารางเมตร ได้มีการจัดตั้งและจดทะเบียนสหกรณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2548 สหกรณ์มีสมาชิกเฉลี่ย 189 คน โดยสหกรณ์บริการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง จำกัด มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด 238 คน และสหกรณ์บ้านเอื้ออาทรรังสิตคลอง 3 จำกัด มีจำนวนสมาชิกน้อยที่สุด 153 คน รูปแบบการดำเนินธุรกิจและการให้บริการสมาชิกสหกรณ์บริการชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิตคลอง 3 จำกัด ดำเนินธุรกิจการให้กู้เงินแก่สมาชิกและมีรายได้จากค่าเก็บขยะ ส่วนธุรกิจบริการการเคหะแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบก่อน จนกว่าสหกรณ์จะมีความพร้อมทางด้านการบริหารจัดการหรือจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลา 5 ปีเช่นเดียวกับสหกรณ์อื่น สหกรณ์บริการชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง จำกัด เพิ่งเริ่มดำเนินธุรกิจจัดหาข้าวสารมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก สำหรับธุรกิจบริการการเคหะแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบก่อนจนกว่าสหกรณ์จะมีความพร้อมทางด้านการบริหารจัดการหรือจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี สหกรณ์บริการชุมชนบ้านเอื้ออาทรหัวหมาก จำกัด ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจ สำหรับธุรกิจบริการการเคหะแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบก่อน จนกว่าสหกรณ์จะมีความพร้อมทางด้านการบริหารจัดการหรือจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี ปัญหาและอุปสรรค
1) ผู้ได้รับสิทธิเช่าซื้อบ้านยังไม่สมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์และไม่อาศัยอยู่ในบ้าน 50% ซึ่งบุคคลที่อาศัยอยู่ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าว ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาสหกรณ์บริการชุมชนที่ดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จ จำนวน 9 สหกรณ์ และสหกรณ์บริการชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 3 สหกรณ์ สามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางการพัฒนาสหกรณ์บริการชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร ดังนี้ 1. ด้านบุคคลากรควรให้การศึกษาอบรมแก่บุคคลากรของสหกรณ์ ดังนี้ 1.1 สมาชิก ให้ความรู้พื้นฐานในเรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ บทบาทหน้าที่สมาชิก ธุรกิจของสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกมีความเข้าใจในรูปแบบ วิธีดำเนินงานของสหกรณ์ จะทำให้สมาชิกมีความร่วมมือในกิจกรรมของสหกรณ์มากขึ้น โดยดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดโครงการฝึกอบรม การประชุมกลุ่มสมาชิก การใช้เวลาบางส่วนในการประชุมใหญ่ การสร้างสมาชิกชั้นนำ การจัดทำเอกสารเผยแพร่ เป็นต้น
1.2 คณะกรรมการ ให้ความรู้พื้นฐานในเรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการ สหกรณ์ บทบาทหน้าที่คณะกรรมการฯ รวมทั้งความรู้ด้านการบริหาร การควบคุม การจัดการธุรกิจ ตลอดจนกฏหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในรูปแบบ 1.3 เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ปัจจุบันสหกรณ์บริการชุมชนโครงการบ้านเอื้ออาทรยังไม่มีเจ้าหน้าที่สหกรณ์ในระยะต่อไปเมื่อมีเจ้าหน้าที่แล้วควรให้ความรู้พื้นฐานในเรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ รวมทั้งความรู้เฉพาะในด้านธุรกิจบริการของสหกรณ์แต่ละด้านและด้านบัญชี เพื่อให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์ได้เพิ่มพูนความรู้และ ประสบการณ์ เข้าใจในระบบงาน ซึ่งจะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ด้านเงินทุน2.1 สหกรณ์ควรชี้แจงให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้ได้รับสิทธิเช่าซื้อบ้านตามโครงการแต่ยังไม่สมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ ถึงประโยชน์การเป็นสมาชิกสหกรณ์ เพื่อจะได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์และถือหุ้นในสหกรณ์ทั้งหุ้นแรกเข้าและหุ้นสะสมรายเดือน เพื่อเป็นทุนดำเนินงานของสหกรณ์ 2.2 สหกรณ์ควรพยายามจัดหารายได้เพิ่มขึ้น จากการทำธุรกิจให้บริการ ต่าง ๆ และลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์มีผลกำไรสามารถจ่ายเงินปันผลเงินเฉลี่ยคืนแก่สมาชิก และสะสมเงินทุนเพื่อขยายงานให้เห็นประโยชน์ของสหกรณ์ที่เป็นรูปธรรม สร้างความศรัทธาและให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรมของสหกรณ์ 2.3 ผู้ได้รับสิทธิเช่าซื้อบ้านรวมทั้งสมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าทางการเคหะแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆในโครงการแทน เช่นการรักษาความปลอดภัยและค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่างๆ จำนวน 250 บาท/เดือน/ครอบครัว ซึ่งหากอนาคตภายหลัง 5 ปี เมื่อการเคหะแห่งชาติมอบให้สหกรณ์รับผิดชอบแล้วอาจเกิดปัญหาการเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าว จึงควร ชี้แจงให้ทราบ 3. ด้านอาคารสถานที่3.1 การเคหะแห่งชาติ ได้ให้การสนับสนุนให้ใช้สถานที่ภายในโครงการเป็นสถานที่ทำการของสหกรณ์สำหรับสหกรณ์บริการชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิตคลอง 3 จำกัด ได้จัดทำแผนเกี่ยวกับการใช้ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ห้องสมุด ลานค้าหมู่บ้าน และร้านค้าหน้าหมู่บ้าน จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ได้ทำธุรกิจดังกล่าว จึงควรประสานกับการเคหะแห่งชาติในเรื่องการขอใช้สถานที่ 3.2 สหกรณ์ควรติดตามศึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานที่คล้ายกับสหกรณ์บริการชุมชน 4. ด้านการบริหารและการจัดการ4.1 โครงสร้างของสหกรณ์ ควรจัดให้มีการบริหารงานกลุ่มสมาชิกกระจายไปตามพื้นที่ของหมู่บ้าน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซนต่าง ๆ ตามความเหมาะสมเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านและเป็นเครือข่ายประสานงานกับสหกรณ์ในการรับทราบปัญหา ข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยให้แต่ละกลุ่มพิจารณา คัดเลือกผู้นำหรือผู้แทนซึ่งเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม มีความเสียสละและมีภาระงานประจำไม่มากจนเกินไปจะได้มีเวลาให้กับงานสหกรณ์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการบริหารงานสหกรณ์ในรูปคณะกรรมการดำเนินการต่อไป 4.2 การบริหารจัดการ คณะกรรมการดำเนินการควรมีการประชุมทุกเดือน เพื่อวางแผนติดตามผลงานและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ควรกำหนดระเบียบขึ้นถือใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น มีการแบ่งงานกันทำระหว่างกรรมการตามความเหมาะสมกับสภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ ในกรณีที่สหกรณ์ยังไม่มีเงินทุนเพียงพอจ้าง ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการฯ ควรแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ผู้จัดการเพื่อให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปที่เกี่ยวกับบรรดากิจการประจำของสหกรณ์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ 4.3 การดำเนินงานของสหกรณ์ สหกรณ์ควรเน้นการประชาสัมพันธ์งานของสหกรณ์ให้สมาชิกและผู้อยู่อาศัยทราบข้อมูล ข่าวสารและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ การดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความเข้าใจสหกรณ์อย่างถูกต้องและตระหนักถึงความรับผิดชอบในการอยู่อาศัยร่วมกัน ควรจัดหรือสนับสนุนให้มีกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ขึ้นภายในหมู่บ้าน เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันเด็ก วันสงกรานต์ วันลอยกระทง วันเฉลิมพระชนม์พรรษา เป็นต้น เพื่อลดความห่าง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีมีความเอื้ออาทรต่อกัน การเก็บค่าบริการรายเดือนต่าง ๆ ในโอกาสต่อไป ควรพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธิการของระบบธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้สหกรณ์สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถอธิบายเหตุผลให้สมาชิกและผู้อยู่อาศัยเข้าใจและเกิดการยอมรับรวมทั้งให้ความร่วมมือในการชำระค่าบริการรายเดือน โดยถือเป็นหน้าที่ด้วยความสมัครใจ นอกจากนี้สหกรณ์ควรพาคณะกรรมการฯ ศึกษาดูงานสหกรณ์บริการชุมชนต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการมาก่อนและประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่างและนำมาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจของตนเองให้ประสบความสำเร็จเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในชุมชน 5. ด้านการส่งเสริมสนับสนุนจากราชการ5.1 การเคหะแห่งชาติ5.11 การจัดสรรงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณแก่โครงการบ้านเอื้ออาทรอย่างบูรณาการ เช่น การก่อสร้างอาคารสาธารณูปโภคในโครงการ ซึ่งประกอบด้วย อาคารห้องสมุด อาคารเลี้ยงเด็ก และอาคารศูนย์ชุมชน จึงควรสนับสนุนงบประมาณในส่วนวัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ในอาคารดังกล่าวเพื่อให้องค์ประกอบของโครงการมีความสมบูรณ์และสามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งมีการประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่นเพื่อให้การสนับสนุนให้โครงการมีความสมบูรณ์ก่อนส่งมอบให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการต่อไป 5.12 แผนการบริหารชุมชน เนื่องจากวัตถุประสงค์ของโครงการบ้านเอื้ออาทรมีขอบเขตกว้างกว่าการก่อสร้างบ้านให้ประชาชนอยู่อาศัย เช่นเดียวกับโครงการที่อยู่อาศัยของเอกชน แต่ยังรวมถึงการสร้างชุมชนที่น่าอยู่ เข้มแข็งและเอื้ออาทร ซึ่งภายหลังการส่งมอบบ้านให้แก่ผู้อยู่อาศัยแล้วการเคหะแห่งชาติยังมีภารกิจต่อเนื่องในการสนับสนุนให้ชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการและการสร้างชุมชนให้น่าอยู่อาศัย จึงควรมีแผนการบริหารชุมชนเป็นกรอบในการดำเนินงานรวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบนหลักการให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวและเป็นชุมชนที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน 5.13 จัดให้มีระบบการคมนาคมที่สะดวกปลอดภัย ในกรณีที่โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและการคมนาคมไม่สะดวก การเคหะแห่งชาติควรประสานให้เกิดการบริการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ จากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ผู้ประกอบการเดินรถเอกชน หน่วยงาน ท้องถิ่นหรือสนับสนุนให้เกิดรถรับจ้างภายในชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ลดภาระค่าใช้จ่าย และสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน 5.2 กรมส่งเสริมสหกรณ์ให้การสนับสนุนการศึกษาอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ของสมาชิกคณะกรรมการดำเนินการ โดยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ รวมทั้งให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจแก่สหกรณ์บริการชุมชนบ้านเอื้ออาทร โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดในพื้นที่อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ ทั้งในด้านการกำหนดระเบียบต่าง ๆ ขึ้นถือใช้ การจัดองค์กร การจัดประชุม การจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจและประสานหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น การเคหะแห่งชาติ เทศบาล อบต. เพื่อการสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์และการส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้แก่สมาชิกและครอบครัว 5.3 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ให้ความรู้ด้านการเงินการบัญชี การควบคุมภายในที่ดีแก่คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ ---------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา webhost.cpd.go.th/ewt/spscpd/download/บทสรุปสำหรับผู้บ2.doc
|