Home » วิทยานิพนธ์ งานวิจัย กรณีศึกษา » การติดตามเร่งรัดหนี้ค้างชำระ : การจัดการองค์ความรู้ โดย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำปาง

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การติดตามเร่งรัดหนี้ค้างชำระ : การจัดการองค์ความรู้ โดย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำปาง

การจัดการองค์ความรู้
(Knowledge Management : KM)  

เรื่อง
การติดตามเร่งรัดหนี้ค้างชำระ
โดย
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำปาง

 

        ในการจัดการองค์ความรู้ เรื่อง การติดตามเร่งรัดหนี้ค้างชำระ จากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำปาง ได้ข้อสรุปเป็นองค์ความรู้สำหรับใช้เป็นคำแนะนำสหกรณ์ติดตามเร่งรัดหนี้จากสมาชิก ดังนี้

    1. จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ เพื่อกำหนดกรอบ แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ
    2. แต่งตั้งอนุกรรมการติดตามหนี้ค้างชำระ
    3. มอบหมายและทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
    3. แยกแยะข้อมูล และเก็บข้อมูลลูกหนี้รายตัวเพื่อสอบถามถึงสาเหตุที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้
    4. วิเคราะห์ลูกหนี้ กำหนดแผน และวางกลยุทธ์ในการติดตาม
    5. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับลูกหนี้ในแต่ละกลุ่ม
    6. กลยุทธ์ในการติดตามเร่งรัดหนี้

        1) จัดชั้นสมาชิก และแจ้งให้สมาชิกทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ
        2) จัดเสวนาระหว่างสมาชิกเพื่อสร้างความเข้าใจในธุรกิจ รับทราบปัญหา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
        3) วางแผนร่วมกับลูกหนี้เพื่อเร่งรัดการชำระหนี้
        4) จัดช่วงเวลาพิเศษสำหรับการชำระหนี้ โดยให้มีส่วนลดเมื่อสมาชิกชำระตามระยะเวลาที่กำหนด
        5) ให้ประธานกลุ่มมีส่วนร่วมในการติดตามหนี้ โดยกำหนดให้ค่าตอบแทนตามส่วนที่สหกรณ์ได้รับชำระหนี้  
        6) ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกแต่ละราย
        7) ส่งเสริมสนับสนุนอาชีพแก่สมาชิก และรับชำระหนี้เป็นผลผลิต หรือขายฝาก
        8) ส่งเสริมสมาชิกให้มีการออม เพื่อชำระหนี้ตามสัดส่วนของหนี้
        9) ให้สหกรณ์รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรล่วงหน้าจากสมาชิกที่จะชำระกับสหกรณ์
      10) แจ้งผู้ค้ำประกันทราบ และให้ช่วยทวงถามติดตามหนี้
       11) ให้มีการติดตามหนี้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
       12) สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างสหกรณ์กับสมาชิกให้แน่นแฟ้น
       13) ดำเนินคดีตามกฎหมายกับสมาชิกและผู้ค้ำประกันที่ไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา

    7. แนะนำส่งเสริมให้มีการนำไปสู่การปฏิบัติ
    8. ติดตามประเมินผลทุกเดือน เพื่อปรับปรุงแก้ไขกลยุทธ์ในการติดตาม

ที่มา เอกสาร ฉบับเต็ม    webhost.cpd.go.th/ewt/lampang/download/km52.3.doc