Home » วิทยานิพนธ์ งานวิจัย กรณีศึกษา » งานวิจัย คุณภาพการให้บริการชุมชนและความคาดหวังในคุณภาพชีวิต ศึกษากรณี : ผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง ประชานิเวศน์ และหัวหมาก

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
งานวิจัย คุณภาพการให้บริการชุมชนและความคาดหวังในคุณภาพชีวิต ศึกษากรณี : ผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง ประชานิเวศน์ และหัวหมาก

การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2548                                                                                จัดโดยสมาคมนักประชากรไทย

การยอมรับคุณภาพการให้บริการชุมชนและความคาดหวังในคุณภาพชีวิต
ศึกษากรณี : ผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง ประชานิเวศน์ และหัวหมาก

อภิวัฒน์ บุญสาธร

บทคัดย่อ

               การจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เป็นตัวอาคารเท่านั้น แต่ยังมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งเป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ จึงมุ่งศึกษาถึงการยอมรับคุณภาพการให้บริการชุมชน รวมถึงความคาดหวังในคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง ประชานิเวศน์ และหัวหมาก จำนวน 4,142 หน่วย ซึ่งเป็นโครงการ นำร่องการบริหารชุมชนเอื้ออาทรแบบบูรณาการของการเคหะแห่งชาติ

               โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้อยู่อาศัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 500 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57.0 มีอายุโดยเฉลี่ย 35.8 ปี มีคู่สมรสแล้ว ร้อยละ 61.0 เป็นโสด ร้อยละ 29.4 ส่วนที่เหลือเป็นหม้าย หย่า หรือแยกกันอยู่ ร้อยละ 9.6 มีบุตรโดยเฉลี่ย 1.4 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 81.6 และมีสถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้างภาคเอกชนหรือโรงงานอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 59.4 โดยมีรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยเดือนละ 13,200 บาท มีผู้อยู่อาศัยในแต่ละครัวเรือนเฉลี่ย 2.8 คน และเข้าอยู่อาศัยประจำในโครงการมาแล้วโดยเฉลี่ย 6.5 เดือน

               ในด้านการยอมรับคุณภาพการให้บริการชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างยอมรับคุณภาพการให้บริการชุมชนในระดับพอใช้ถึงดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน และการยอมรับคุณภาพการให้บริการชุมชนมีความสัมพันธ์ (correlation) กับประเภทห้องชุดและจำนวนผู้อยู่อาศัยในครัวเรือน

               ส่วนความคาดหวังในคุณภาพชีวิต พบว่า กลุ่มตัวอย่างคาดหวังในด้านการให้บริการทั่วไปมากกว่าด้านอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 29.4 รองลงมา คือ ด้านครอบครัวและเพื่อนบ้าน ด้านเศรษฐกิจ ด้านทำเลที่ตั้งและด้านสังคม คิดเป็นร้อยละ 23.2 20.0 15.2 และ 12.2 ตามลำดับ ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ตารางไขว้ (crosstabulation) พบว่า การจัดลำดับความสำคัญด้านบริการทั่วไป มีความสัมพันธ์กับเพศ และการจัดลำดับความสำคัญด้านเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษาและประเภทห้องชุด

Link  http://softbizplus.com/upload/Thesis-1376.pdf